วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศและกระบวนการสารสนเทศ

 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศเน้นการดูแล และการใช้งาน ทรัพยากรสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดประกอบด้วยการวางแผน การจัดหา การจัดงาน การปฏิบัติการ การบริการ การประเมินผล

          การวางแผน แผนงานที่ผู้บริหารจะต้องเกี่ยวข้องมีอยู่มากด้วยกัน แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนปฏิบัติการและงบประมาณประจำปี แผนงานในโครงการ แผนพัฒนาบุคลากร แผนสมรรถนะอุปกรณ์
          
          การจัดหา ผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกับการจัดหาทรัพยากรต่าง ๆ การจัดหาอุปกรณ์ไอที           
          
          การจัดหา ระบบอินเทอร์เน็ต การจัดหาบุคลากร การจัดหางบประมาณ การจัดหาผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษา
                    
          การจัดงาน ผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ต้องรับผิดชอบต่อการจัดงานต่อไปนี้ การออกแบบศูนย์ และห้องของคอมพิวเตอร์ การจัดองค์กร การจัดระบบการทำงาน การจัดทำข้อเสนอโครงการใหม่
          
          การจัดระบบการเงิน การปฏิบัติการผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ต้องดูแลการปฏิบัติการต่อไปนี้

          การปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ประจำวัน การควบคุมโครงการที่ได้มอบหมาย การควบคุมการดำเนินงานของแผนกต่าง ๆ การเข้าประชุมกับผู้บริหารอื่น ๆ การแก้ปัญหาต่าง ๆ

          การบำรุงรักษา ผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ ต้องดูแลกระบวนการบำรุงรักษาต่อไปนี้ การตรวจสอบว่ามีการแก้ไขอุปกรณ์ไอทีที่ไม่ทำงาน และโปรแกรมที่ผิดพลาด การจัดทำรายงานความผิดปกติ

          การสำรองข้อมูลและระบบ  การกู้ระบบหากเกิดความเสียหายขัดข้อง  การระวังรักษาความลับของระบบ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของศูนย์คอมพิวเตอร์

          การบริการ ผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์จะต้องจัดบริการต่อไปนี้ Information Center / Help Desk
          การจัดซื้อ HW/SW ตามคำขอของผู้ใช้ การให้คำแนะนำทางด้านข้อมูลและมาตรฐาน
การสร้างระบบตามคำขอของผู้ใช้

          การประเมินผล  ผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ต้องประเมินผลการทำงานตามหัวข้อต่าง ๆ  แล้วพิจารณาว่า  ภารกิจใดมีข้อบกพร่องที่จะต้องแก้ไข ก็ให้เร่งหาทางแก้ไขให้ดีขึ้น จัดทำรายงานของผลงานเสนอผู้บริหาร
          





การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เป็นกระบวนการสรรหาทรัพยากรสารสนเทศด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้ทรัพยากรที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้และนโยบายของห้องสมุด ซึ่งการที่ห้องสมุดจะสามารถให้บริการได้ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ต้องมีรากฐานมาจากการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสม จึงจะสามารถให้บริการที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้ดี
หลักการและเหตุผล
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับงบประมาณเป็นจำนวนเงิน 600,000 บาท ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ในปี 2554 นั้น ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) ได้วางแผนการใช้งบประมาณในการจัดหา โดยเน้นลำดับความสำคัญในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เฉพาะสาขาวิชาที่สนองภารกิจหลักปัจจุบันของ สวทช. และความทันสมัย
วัตถุประสงค์ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
1.           จัดหาทรัพยากรสารสนเทสทั้งประเภทสิ่งตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ วารสาร โสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุน เน้นการบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยของชุมชนนักวิจัย สวทช.
2.           รวบรวมสิ่งพิมพ์มุ่งเน้นสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3.           วางแผนและควบคุมการใช้งบประมาณในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับ
เกณฑ์การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศเพื่อจัดซื้อ
หลักเกณฑ์/สัดส่วน กระบวนการคัดเลือกประเภทหนังสือ
1.           สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 60
2.           สาขานโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สาขาการบริหารจัดการ (ค่านิยมหลัก สวทช., การบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / บริหารทั่วไป / ทรัพย์สินทางปัญญา) ร้อยละ 20
3.           สาขาอื่นๆ ร้อยละ 20
วิธีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีวิธีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ คือการจัดซื้อและการรับบริจาค
 กระบวนการสารสนเทศ
http://www.thaigoodview.com/sites/all/themes/tgv11/images/PostDateIcon.pngเมื่อ ศุกร์, 11/09/2009 - 10:12 | แก้ไขล่าสุด ศุกร์, 11/09/2009 - 10:12| โดย http://www.thaigoodview.com/sites/all/themes/tgv11/images/PostAuthorIcon.png wrk22592

สารสนเทศ (information)  เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการและการจัดการข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ
สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล
หลักการแก้ปัญหาตามวิธีวิทยาศาสตร์ ( Scientific method ) วิธีการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีที่มีมานานมากแล้ว ซึ่งใช้ศึกษาค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ ตั้งแต่หลายร้อยปีก่อน จนเกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ มากมายอย่างทุกวันนี้ หลักการแก้ปัญหา ทางวิทยาศาสตร์ มีดังนั้
             1. เก็บข้อมูลเบื้องต้น โดยการศึกษา สังเกตเหตุการณ์หรือปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ
             2. ตั้งสมมิฐานเกี่ยวกับสาเหตุ แนวความคิด หรือทฤษฎี ของการเกิดปรากฎการณ์และทางการแก้ปัญหา
             3. พัฒนาการวิธีการที่จะทดสอบสมมติฐานหรือทฤษฎีตามข้อ 2
             4. ทำการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานหรือทฤษฎี โดยตั้งวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน อาจมีการตั้งกลุ่มทดลองภายใต้การควบคุม เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ควบคุม ทำการบันทึกผลการทดลองที่สังเกตพบไว้อย่างละเอียดแม่นยำ
             5. วิเคราะห์ผลการทดลอง เพื่อหาคำตอบว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นเป็นจริงหรือไม่
             6. เขียนรายงานสรุปผลคำตอบที่ได้ผลที่ได้จากวิธีนี้เป็นที่ยอมรับกันมาก เนื่องจากเป็นวิธีที่พิสูจน์ได้ เห็นผลชัดเจน และ มีวัตถุประสงค์เด่นชัด แต่ผลที่ได้อาจขาดความคิดสร้างสรรค์ หรือบางครั้งสำหรับปัญหาง่ายๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ขั้นตอนมากมายเช่นนี้ และปัญหาบางอย่างก็อาจใช้ไม่ได้เลย เพราะทดลองไม่ได้ 
          
 หลักการแก้ปัญหาตามวิธีการทางวิศวกรรม ( Engineering problem solving ) วิธีเหมาะกับการแก้ปัญหาในการออกแบบผลิตภัณฑ์ สินคัา หรือเพื่อสร้างสิ่งใหม่หรือเพื่อการแก้ปัญหาในเชิงวิศวกรรม มีขั้นตอนดังนี้
             1. วิเคราะห์ปัญหา กำหนดรายละเอียดปัญหาให้ชัดเจนเป็นข้อๆ กำหนดความ ต้องการและข้อจำกัดในการแก้ปัญหาเป็นข้อๆวิเคราะห์ข้อมูลว่ามีข้อมูลใดที่มีอยุ่แล้วและใช้ได้อะไรคือสิ่งที่ยังไม่รู้และต้องการรู้
            2. สร้างแบบจำลองวิธีการแก้ปัญหา ( Define model ) อาจเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือบางกรณีต้องสร้างแบบจำลองย่อส่วนจากของจริง คิดค้นหาสูตรสมการที่จะใช้แก้ปัญหา เก็บข้อมูลที่ต้องใช้แก้ปัญหา
            3. คำนวณหาคำตอบโดยใช้แบบจำลอง วิธี และสมกาในข้อ 2 ตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่
            4. ผลลัพธ์หรือคำตอบที่ได้มีเหตุผลว่าถูกต้องเหมาะสม จึงนำไปปฏิบัติ 
         
 วิธีการแก้ปัญหาแบบสร้างสรรค์ ( Creative problem solving ) วิธีนี้เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ใช้แนวคิดแบบสร้างสรรค์ สามารถนำไปใช้งานได้กว้างขวาง
1. ใช้ความสังเกตอย่างพินิจพิเคราะห์ คือให้ตื่นตัวตกใจ ใช้ตาดูหูฟัง เพื่อให้มองเห็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และมองเห็นวิธีแก้ปัญหาที่อาจเป็นไปได้
            2. ค้นหาความจริง โดยเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น ทำการศึกษา ทดลอง หรือทำวิธีใดๆที่เหมาะสม 
            3. ค้นหาปัญหา เพื่อดูว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร สาเหตุของการเกิดคืออะไร
            4. ค้นหาแนวความคิดในการแก้ปัญหา โดยการคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาหลายๆวิธีที่อาจใช้ได้ อย่าเพิ่งด่วนสรุปวิธีนั้นวิธีนี้ดีที่สุด ทำการประเมินและปรับปรุงแนวคิดให้ดีขึ้น
            5. ค้นหาวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม โดยการกำหนดเกณฑ์ในการเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งจากวิธีที่คิดไว้หลายๆวิธี เช่น เลือวิธีที่เร็ว ราคาถูก และดีเพียงพอกับความต้องการ
            6. ค้นหาวิธีการยอมรับวิธีแก้ปัญหาที่เลือกไว้ โดยหาวิธีที่จะทำให้ตนเองและผู้เกี่ยวข้องยอมรับวิธีแก้ปัญหาที่เลือกไว้ร่วมกัน และตกลองแก้ปัญหาด้วยวิธีนั้นข้อเสียของวิธีนี้คือ ไม่กล่าวถึงวิธีการนำไปปฏิบัติ หรือการทดสอบวิธีการแก้ปัญหาที่
เลือกไว้ก่อนนำไปใช้จริง แต่มีจุดเด่นตรงที่ชาวยสรางแนวทางการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ที่ผู้ใช้เลือกได้โดยอิสระ

            
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนด้วยวิธีการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ส่วนมากจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยเพื่อเพิ่มความรวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถทำซ้ำได้ง่าย             ในกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยแก้ปัญหา จำเป็นต้องปรับรูปแบบวิธีการทำงานให้เหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
            วิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิธีคล้ายกับการแก้ปัญกาทางวิศวกรรมมาก แต่ในการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานใดๆ ก็ตาม จะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและศึกษาความเป็นไปได้ให้รอบคอบเสียก่อน ทั้งนี้เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่ใช้เครื่องมือวิเศษที่จะแก้ปัญหได้ทุกเรื่อง
            นอกจากนี้ยังจะต้องมีการศึกษาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน เพื่อไม่ให้เป็นการลงทุนที่เสียเปล่า ต้องเลือกวิธีการแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับงาน จัดหาเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ไม่เกินความจำเป็น
           การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เหมาะกับระบบงานที่ต้องทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งซากและมีปริมาณงานมากหรืองานที่ต้องการความรวดเร็วในการคำนวณเกินกว่าคนธรรมดาจะทำได้ วิธีการโดยทั้วไปคือ ปรับเปลี่ยนวิธีการหรือระบบการทำงานแบบเดิม มาใช้ระบบงานที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำงานเป็นบางส่วน หรือทั้งหมด เท่าที่สามารถจะทำแทนคนได้
            ดังนั้น การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงต้องมีการสร้างระบบงานคอมพิวเตอร์ขึ้นมาช่วยทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วิธีการโดยทั้วไป เราอาจไม่ต้องสร้างระบบงานทั้งหมดขึ้นใหม่ แต่พัฒนาระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานที่ทำงานโดยคอมพิวเตอร์นิยมเรียกกันว่า การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
   ** ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ตามหลักวิชาว่าด้วยการวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน ( System analysis and design ) มีการจัดขั้นตอนการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศดังนี้
           1. วิเคราะห์ระบบงานหรือปัญหา ( System or problem analysis ) รวมถึงรายละเอียดข้อมูลที่ต้องใช้ โดยการศึกษาระบบงานเดิมอย่างละเอียด
           2. กำหนดรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้ระบบงาน ( Require-ments specification )
           3. ออกแบบขั้นตอนวิธีการทำงานของระบบใหม่
           4. ตรวจสอบขั้นตอนวิธีให้ได้ผลตามความต้องการ
           5. ออกแบบโปรแกรม ( Program design )
           6.เขียนชุดคำสั่ง ( Coding )
           7. ทดสอบโปรแกรม ( Testing ) และหาที่ผิดพลาด ( Debuugging )
           8. นำโปรแกรมและระบบงานไปใช้งานจริง ( Implementation oroperation )
           9. บำรุงรักษา ติดตามผล แก้ไขปรับปรุง ( Software maintenance and improvement ) เพื่อให้ทันสมัยใช้ได้ตลอดไป จะเห็นว่าการพัฒนาระบบสารสนเทศ จำเป็นจะต้องรู้ขั้นตอนวิธีการทำงานของระบบเดิม ตามด้วยการหาวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรม จากนั้นจึงออกแบบวิธีการทำงานในระบบใหม่ให้ระเอียดซึ่งจะต้องมีการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาช่วยทำงานบางส่วน หรือทั้งหมด
         **ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานโดยการจัดซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป ในกรณีที่เราไม่ได้พัฒนาโปรแกรมเอง แต่เป็นการจัดซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้งาน เราอาจปรับเปลี่ยนขั้นตอนมาเป็นดังนี้
           1. วิเคราะห์ปัญหาและระบบงานที่จะทำ ( System or problem analysis ) รวมถึงรายละเอียดข้อมูลที่มีอยุ่
           2. กำหนดรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้ระบบงาน ( Require-ments specification )
           3. ออกแบบขั้นตอนวิธีการทำงานของระบบใหม่
           4. ตรวจสอบขั้นตอนวิธีว่าให้ผลตรงกับที่ต้องการ
           5. จัดหาโปรแกรมที่ทำงานตรงตามความต้องการ โดยการซื้อหรือจ้างทำ
           6. นำโปรแกรมและระบบงานไปใช้จริง ( Implementation oroperation )
           7. บำรุงรักษาระบบ ติดตามผลและแก้ไขปรับปรุง ( Software mainte-mance and improvement
เครื่องมือในการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา ในการออกแบบขั้นตอนวิธีการทำงานเพื่อการแก้ปัญหาต่างๆ หรือการเขียนโปรแกรม จำเป็นต้องใช้เครื่องมือบางอย่างช่วยในการออกแบบและวิเคราะห์วิธีการเพื่อให้ง่ายต่อการมองภาพกระบวนการทำงานของระบบ สามารถตรวจสอบหาที่ผิด รวมทั้งหาทางปรับปรุงให้ดีกว่าเดิมได้ เครื่องมือดังกล่าวที่ง่ายที่สุด ได้แก่ ผังงาน หรือโฟลชาร์ต ( Flowchart ) และรหัสจำลอง ( Pseudo Code )
          **ผังงาน ( Flowchart ) เป็นเครื่องมือช่วยออกแบบ และวิเคราะห์การทำงานของโปรอกรมแบบรูปภาพขั้นพื้นฐานที่สุด ช่วยให้สามารถมองเห็นภาพของความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการต่างๆ ของระบบงานหรือโปรแกรมได้ง่าย และสามารถตรวจสอบว่าวิธีการนั้น ถูกต้อง มีประสิทธิภาพในการทำงาน และมีความซับซ้อนหรือไม่ ทำให้นำไปเขียนเป็นโปรแกรมได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษากลไกของโปรแกรมอย่างละเอียดรวมทั้งเพื่อเป็นการศึกษาคิดค้นขั้นตอนวิธี ( algorithm ) ที่ละเอียดอ่อน และยังจัดว่าเป็นกระบวนการที่ไม่ใหญ่และซับซ้อนมากนัก ผังงานประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ


ปกิณกะ


ฟักทอง เต็มเปี่ยมด้วยประโยชน์

ฟักทอง เต็มเปี่ยมด้วยประโยชน์





เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          
หนึ่งในพืชสีเหลืองที่เรามักจะเห็นคนนำมาประกอบอาหารอยู่บ่อย ๆ ก็คือ "ฟักทอง" นั่นเอง เพราะ "ฟักทอง" สามารถประกอบอาหารคาว-หวานได้สารพัดเมนู จึงไม่แปลกที่ "ฟักทอง" จะเป็นอาหารจานโปรดของใครหลายคน

          แล้วรู้ไหมคะว่า "ฟักทอง" นอกจากอิ่มอร่อยแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาอีกต่างหาก เอ้า...ถ้ายังไม่ทราบวันนี้เราขอเอาใจคนรัก "ฟักทอง" ด้วยการนำเรื่องราวประโยชน์ของ "ฟักทอง" มาเสิรฟ์ถึงมือคุณเลยค่ะ

          ฟักทอง เป็นพืชตระกูลมะระ ชนิดไม้เถาขนาดใหญ่ ผิวมีลักษณะขรุขระ เนื้อในสีเหลืองนิ่ม มีเมล็ดสีขาวแบน ๆ ติดอยู่ ซึ่งแต่ละส่วนของ "ฟักทอง" มีสรรพคุณทางมากมาย คือ

          http://img.kapook.com/image/icon/1451519.gif 
เนื้อฟักทอง มีวิตามินเอสูง รวมทั้งฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี แป้ง และที่จะลืมไปไม่ได้เลยก็คือ "เบต้าแคโรทีน" ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในเนื้อสีเหลืองของฟักทอง สามารถช่วยลดการเกิดมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจได้ แถมเบต้าแคโรทีน ยังช่วยต้านความชรา ป้องกันโรคผิวหนัง บรรเทาอาการปวดเมื่อยของข้อเข่า และบั้นเอวได้เป็นอย่างดี

          http://img.kapook.com/image/icon/1451519.gif 
เปลือกฟักทอง มีฤทธิ์ทางยามากมาย หากทานฟักทองทั้งเปลือก จะสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินในร่างกาย ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดเบาหวาน ความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่ตายไป ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          http://img.kapook.com/image/icon/1451519.gif 
ใบอ่อน มีวิตามินเอสูงเท่ากับเนื้อฟักทอง แต่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในเนื้อ

          http://img.kapook.com/image/icon/1451519.gif 
ดอก มีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีวิตามินซีเล็กน้อย

          http://img.kapook.com/image/icon/1451519.gif 
เมล็ด ประกอบด้วยแป้ง ฟอสฟอรัส โปรตีนและวิตามิน รวมทั้งสารที่ชื่อว่า "คิวเคอร์บิติน" (cucurbitine) ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าพยาธิตัวตืดได้ดี และยังช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้ น้ำมันจากเมล็ดฟักทองยังช่วยบำรุงประสาทได้ดี และยังมีกรดอะมิโนบางชนิดที่ช่วยป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากของผู้ชายขยายใหญ่ขึ้น และช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชายที่ได้จากลูกอัณฑะให้อยู่ในระดับปกติ

          http://img.kapook.com/image/icon/1451519.gif 
ราก น้ำมาต้มน้ำใช้ดื่มแก้อาการไอได้ และยังช่วยบำรุงร่างกาย ถอนพิษของฝิ่นได้

          http://img.kapook.com/image/icon/1451519.gif 
เยื่อกลางผล สามารถนำมาพอกแผล แก้อาการฟกช้ำ อาการปวด อักเสบได้



ฟักทอง อาหารเพื่อคุณผู้หญิง

          และสำหรับคุณผู้หญิงที่ต้องการลดน้ำหนัก "ฟักทอง" นี่แหละค่ะคือ "ตัวช่วย" ที่ดีตัวหนึ่งเลยทีเดียว เพราะฟักทองเป็นพืชที่มีกากใยมาก และมีแคลอรีไม่สูง ไขมันน้อย จึงไม่ทำให้อ้วน นอกจากนี้ในฟักทองมีวิตามินหลายชนิดในปริมาณสูง จะช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวพรรณของคุณสาว ๆ มีน้ำมีนวล แถมสายตายังดูปิ๊งอีกต่างหาก

          นอกจากนี้ สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร "ฟักทอง" ซึ่งมีฤทธิ์อุ่น จะช่วยย่อยอาหาร ทำให้กระเพาะอุ่น บำรุงกำลัง ลดอาการอักเสบ แก้ปวดได้อีกด้วย

ข้อควรระวังในการทาน "ฟักทอง"

          เนื่องจาก "ฟักทอง" มีฤทธิ์อุ่น ดังนั้นคนที่ "กระเพาะร้อน" คือมีอาการเช่นกระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก เป็นแผลในช่องปาก เหงือกบวม ไม่ควรทานฟักทองมากเกินไป เพราะอาจกระตุ้นให้ร่างกายร้อนขึ้นได้นั่นเอง หรือแม้แต่ในคนปกติ การทานฟักทองมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้องได้เช่นกัน

          
ได้เห็นประโยชน์ดี ๆ ของ "ฟักทอง" แล้วอย่าลืมหามาทานกันนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น