วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

http://www.youtube.com/watch?v=pklrDHttqRc&feature=youtu.be



ปกิณกะ
กินกล้วยต้านโรค (Lisa)

           กล้วย มีกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงได้หลายพันปี หลายปีมาแล้ว เชื่อกันว่ากล้วยเป็นผลไม้ชนิดแรกที่คนปลูก เพื่อเป็นอาหาร ประเทศไทยเราชื่อแน่ว่าปลูกกล้วยกินมานานมากแล้ว จดหมายในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ 300 กว่าปีมาแล้วก็กล่าวถึงเรื่องของกล้วย และยังมีผู้สำรวจและกล่าวว่ากล้วยหลาย 10 พันธุ์มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่คนไทยกลับนิยมกินกล้วยกินน้อยมาก บางคนดูถูกด้วยซ้ำว่าเป็นผลไม้ของคนยาก เนื่องจากราคาถูก จึงถูกจัดให้เป็นผลไม้เกรดต่ำ นำมาขึ้นโต๊ะรับแขกไม่ได้ แขกจะถูกแย่ว่าเลี้ยงกล้วย ต้องไปหาผลไม้แพงๆ ซึ่งความจริงผลไม้ไทยๆ อย่างกล้วยนี้ สุดยอดวิตามินเชียวล่ะ

 จริง ๆ แล้ว ไม่เกินเลยความจริงเลย กล้วยผลไม้ไทย ๆ ของเรานี่แหละใช้เป็นยาป้องกันและรักษาโรคได้หลายโรค และยังเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารครบทุกชนิดที่ร่างกายต้องการ คือมีทั้ง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำ โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และยังมีคุณสมบัติที่ย่อยง่าย ทางการแพทย์จึงได้เลือกให้กล้วยน้ำว้าสุกเป็นอาหารเสริมในวัยทารก

           น้ำตาลที่เกิดขึ้นจากขบวนการเปลี่ยนแปลงของแป้ง ขณะที่กล้วยสุกก็มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่อกล้วยตกไปถึงลำไส้จะทำให้ลำไส้มีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้แคลเซียมถูกดูดซึมง่ายและสมบูรณ์ขึ้น จึงนับว่าน้ำตาลในกล้วยมีคุณค่ากว่าน้ำตาลที่ได้จากธัญพืชอื่น ๆ
           สารอาหารโปรตีนที่มีอยู่ในกล้วยน้ำว้า เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับเราอยู่หลายชนิด  โดยเฉพาะมีกรดอะมิโนที่มีชื่อว่า อาร์จินิน และ ฮีสติดีน ซึ่งกรดอะมิโนทั้ง 2 ตัวนี้ เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก

           นอกจากโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตแล้ว ในกล้วยแต่ละชนิดยังมีไขมันแม้จะอยู่ในปริมาณที่น้อยก็ตาม

           กล้วยแต่ละชนิดจะให้โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ในปริมาณที่แตกต่างกัน จะเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนจากตาราง โดยเปรียบเทียบจากเนื้อกล้วยในปริมาณ 100 กรัม เท่าๆ กัน

           ส่วนวิตามินนั้น มองดูผิวเผิน กล้วยแต่ละชนิดสีขาวๆ ทั้งนั้นไม่น่าจะให้วิตามินเอเลย แต่ในกล้วยก็มีวิตามินเออยู่ด้วย แม้จะไม่มากเท่าวิตามินเอที่ได้จากมะละกอหรือมะม่วงสุก แต่ก็มีวิตามินเอมากกว่าผลไม้อีกหลาย ๆ ชนิด เช่น ชมพู่ ส้มโอ น้อยหน่า เป็นต้น ในบรรดากล้วยทุกชนิดนั้น กล้วยน้ำว้าจะมีวิตามินเอมากกว่าเพื่อน สำหรับวิตามินตัวอื่น กล้วยก็มีอยู่ครบทุกชนิดเช่นกัน ทั้งวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี และไนอะซิน


เกลือแร่สำคัญ ๆ ที่มีอยู่ในกล้วยก็คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก
           เมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้อื่น ๆ แล้ว กล้วยนับเป็นผลไม้ที่มีเกลือแร่อยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นแคลเซียม ฟอสฟอรัส หรือเหล็กก็ตาม กล้วยทุกชนิดมีแร่ธาตุมากกว่าผลไม้ชนิดต่าง ๆ ดังนี้
           มีธาตุเหล็กมากกว่าแตงโม พุทรา ระกำ ลำไย ลิ้นจี่ แอปเปิ้ล แคนตาลูป ฯลฯ
          มีแคลเซียมมากกว่าชมพู่ มะเฟือง มะไฟ มะยม มังคุด ลิ้นจี่ ลำไย ฯลฯ
          มีฟอสฟอรัสมากกว่าลูกเงาะ ชมพู่ แตงไทย แตงโม มะเฟือง มะม่วง มังคุด ระกำ ละมุด แอปเปิ้ล แคนตาลูป ฯลฯ

http://www.youtube.com/watch?v=Ved4pQuF3-o&feature=youtu.be




ปกิณกะ





อาหารดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพฉันใด อาหารบำรุงสายตาก็มีความจำเป็นต่อสุขภาพสายตาที่ดีฉันนั้น การมองเห็นเป็นสิ่งที่วิเศษสุดของคนเรา สุขภาพสายตาควรได้รับการดูแลอย่างดี
ด้วยการใช้ดวงตาอย่างทะนุถนอมและรู้จักดูแลบำรุงรักษาสายตาด้วยการเลือกกินอาหารที่มีสารอาหารและวิตามินบำรุงสายตา

อาหารบำรุงสายตา จะมีวิตามินเอ สารอาหารที่ชื่อว่า ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารอาหารสำคัญในอาหารบำรุงสายตา วิตามินเอจะได้จากอาหารจำพวก ตับไก่ ตับหมู ไข่แดง ฟักทอง ฯลฯ สำหรับสารอาหารลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin) นั้นเหมาะสำหรับคนที่ห่วงใยสุขภาพสายตาอย่างจริงจังและคนที่ทำงานโดยใช้สายตามากเช่น คนที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆในแต่ละวันหรือต้องทำงานอยู่กลางแจ้งที่มีแสงแดดจ้า คนที่ต้องขับรถกลางคืนบ่อยๆที่มักจะถูกแสงไฟรถที่วิ่งสวนมาสาดเข้าตาบ่อยๆในลักษณะเดียวกับแสงไฟแฟลชจากกล้องถ่ายรูปทำให้สายตาต้องทำงานหนักเมื่อเจอแสงสว่างในลักษณะนี้



 



 
สารอาหารลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin)นั้นจะอยู่ในจุดรับภาพของดวงตาคนเรา สารอาหารทั้งสองตัวนี้จะช่วยกรองแสงหรือป้องกันรังสีที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตา นอกจากนี้ลูทีน(Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin)ยังช่วยปกป้องไม่ให้เซลล์ของจอประสาทตาถูกทำลาย ดังนั้นการบำรุงรักษาสายตาทำได้โดยรู้จักเลือกกินอาหารที่มีสารลูทีน(Lutein)และซีแซนทีน(Zeaxanthin)อยู่เพื่อประโยชน์ในการบำรุงสายตา
  
อาหารที่มีลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin) ที่ช่วยบำรุงสายตาได้แก่อาหารจำพวกพืชผักผลไม้ที่มีสีเขียวเข้มและสีเหลืองเช่น ผักคะน้า ผักปวยเล้ง ผักโขมและข้าวโพด สารอาหารที่จำเป็นในการบำรุงสายตาควบคู่ไปกับลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin)ก็คือวิตามินเอที่ได้จากอาหารจำพวกฟักทอง
แครอท ผักตำลึง ตับหมู มะละกอ มะม่วงสุก
ผักบุ้ง ฯลฯ นอกจากนี้สารอาหารทั้งสองตัวนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อกระจก(Cataracts) โรคกระจกตาเสื่อม(AMD) มะเร็งเต้านมและโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย

การดูแลรักษาสุขภาพดวงตาให้มีสุขภาพดี นอกจากจะรู้จักเลือกกินอาหารบำรุงสายตาที่มีสารลูทีน (Lutein) ซีแซนทีน (Zeaxanthin) และวิตามินเอแล้วยังมีสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของสายตานั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตาในการทำงานเช่น ใช้แผ่นกรองแสงกับจอคอมพิวเตอร์และปรับลดระดับแสงสว่างจากจอคอมพิวเตอร์ให้พอเหมาะอย่าให้สว่างจ้ามากเกินไป เมื่อทำงานที่ต้องใช้สายตามากๆเป็นเวลานานให้รู้จักหยุดพักสายตาบ้างสัก 3-5 นาทีแล้วค่อยกลับไปทำงานต่อ เมื่อต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานานควรสวมแว่นกันแดดเพื่อลดปริมาณแสงที่จะเข้ามายังตาของเรา
อาหารบำรุงสายตาช่วยให้ดวงตาได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตาและการปรับพฤติกรรมการทำงานที่ต้องใช้สายตามากๆจะเป็นการป้องกันและช่วยถนอมรักษาดวงตา หากทำทั้งสองอย่างไปพร้อมกันก็เหมือนกับการบำรุงรักษาสายตาจากภายใน (กินอาหารบำรุงสายตา) และป้องกันอันตรายรบกวนกับสายตาจากภายนอก (ปรับพฤติกรรมการใช้สายตา) ซึ่งจะมีผลช่วยถนอมและรักษาดวงตาให้อยู่กับเราไปได้อีกนานเท่านาน


 

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


วิชาชีพของบรรณรักษ์
 จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2521 ปรับปรุงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2529  ปรับปรุงครั้งที่สอง พ.ศ. 2550 เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในวิชาชีพและสังคม จรรยาบรรณนี้ใช้สำหรับเป็นแนวทางของบรรณารักษ์และนักสารสนเทศในการประกอบวิชาชีพ  มีสาระสำคัญครอบคลุมจรรยาบรรณ ต่อผู้รับบริการ วิชาชีพ ผู้ร่วมงาน สถาบัน และสังคม ดังนี้ 
1. พึงให้บริการอย่างเต็มความสามารถ ด้วยบริการที่มีคุณภาพและด้วยความเสมอภาคแก่ผู้รับบริการ
2. พึงรักษาความลับ เคารพและปกป้องสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิในการรับรู้ของผู้รับบริการ
3. พึงมีความศรัทธาในวิชาชีพและใช้วิชาชีพปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ อดทน และมุ่งผลประโยชน์ส่วนรวม โดยปราศจากการถูกครอบงำด้วยอิทธิพลหรือผลประโยชน์อันมิชอบทุกประการ
4. พึงแสวงหาความรู้และพัฒนาตนทางวิชาการ วิชาชีพ อย่างต่อเนื่องให้ทันความเปลี่ยนแปลงและได้มาตรฐานทางวิชาการ วิชาชีพระดับสากล
5. พึงเป็นกัลยาณมิตรของผู้ร่วมงาน ร่วมมือ สนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน เปิดโอกาสให้แก่กันและกัน และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะเพื่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
6. พึงพัฒนาสัมพันธภาพและความร่วมมือระหว่างบุคคลและสถาบัน และธำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงและเกียรติภูมิของสถาบัน
7. ไม่พึงใช้ตำแหน่งหน้าที่ ชื่อสถาบันและทรัพยากรของสถาบันเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนหรือหมู่คณะโดยมิชอบ
8. พึงยืนหยัดในหลัการแห่งเสรีภาพทางปัญญา เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และธำรงไว้ซึ่งเสรีภาพของห้องสมุดและเกียรติภูมิของวิชาชีพ
9. พึงมีความรับผิดชอบต่อสังคม อุทิศตนเพื่อประโยชน์และความมั่นคงของสังคม และมีบทบาทในการพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ
จรรยาบรรณของบรรณารักษ์


            การทำงานด้านบริการสารนิเทศ ผู้ให้บริการจะต้องมีคุณสมบัติที่แตกต่างออกไปจากบรรณารักษ์ด้านอื่น ๆ ดังนั้นสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยจึงได้กำหนดจรรยาบรรณของบรรณารักษ์ไว้ดังนี้ (สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จรรยาบรรณารักษ์. 2542 : 2)


หมวดที่ 1 จรรยาบรรณต่อผู้ใช้
1.ให้คำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้ใช้ก่อนสิ่งอื่นใด
2. ให้ใช้วิชาชีพที่ได้ศึกษามาให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้อย่างเต็มความสามารถ
3. ให้ความเสมอภาคแก่ผู้ใช้โดยไม่คำนึง ฐานะ เชื้อชาติ ศาสนา สังคมและลัทธิการเมือง


หมวดที่ 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
1. ไม่ประพฤติหรือกระทำผิดใด ๆ อันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
2. ต้องศึกษาและแสวงหาความรู้ เพื่อให้ตนมีวุฒิเข้าขั้นมาตรฐาน ที่สถาบันวิชาชีพกำหนดไว้ และหมั่นเพียรฝึกฝนทักษะ
     ตลอดจนหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน
3. ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพผู้ร่วมอาชีพและเพื่อพัฒนาวิชาชีพ
4. ไม่ฝักใฝ่ในการเพิ่มพูนฐานะทางเศรษฐกิจส่วนตน จนเป็นการบั่นทอนการปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบ


หมวดที่ 3 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
1. ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ ความสามารถและความประพฤติดี
2. ให้ความเคารพและยอมรับในข้อตกลงที่เป็นมติของที่ประชุม
3. รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ
4. ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องยึดมั่นในคุณธรรมในการปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่มีอคติในการแต่งตั้ง
     การพิจารณาความดีความชอบและการลงโทษ


หมวดที่ 4 จรรยาบรรณต่อสถาบัน
1. รักษาประโยชน์และชื่อเสียงของสถาบัน และไม่กระทำการอันใด ที่จะเป็นทางทำให้เกิดความเสื่อมเสีย
2. ร่วมมือและปฏิบัติด้วยดีตามนโยบายที่ผู้บังคับบัญชาได้รับมา เพื่อความก้าวหน้าของสถาบันโดยรวม
3. ไม่พึงใช้ชื่อและทรัพยากรของสถาบันเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือหมู่คณะโดยมิชอบ


หมวดที่ 5 จรรยาบรรณต่อสังคม
1. บรรณารักษ์ควรเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทภาระหน้าที่ที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่น และการพัฒนาประเทศ
2. พร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของชุมชน ด้วยการใช้วิชาชีพโดยสุจริตและไม่เป็นการเสียหายต่อภาระหน้าที่ที่ปฏิบัติอยู่
3. ควรพยายามป้องกันมิให้กิจกรรมใดๆ ที่เป็นภัยต่อสังคมแฝงไปในการดำเนินงานห้องสมุด
  บรรณารักษ์ 

ลักษณะงานทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานบรรณารักษ์ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดหา
และคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด วิเคราะห์และจัดหมวดหมู่หนังสือ ทำบัตรรายการ ทำบรรณานุกรม ทำดรรชนี ทำสารสังเขป จัดทำคู่มือการศึกษาค้นคว้าหนังสือในห้องสมุด ให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ศึกษา ค้นคว้าการจัดระบบงานที่เหมาะสมของห้องสมุด และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ชื่อและระดับของตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้ คือ
 
บรรณารักษ์ 3    ระดับ 3
          บรรณารักษ์ 4    ระดับ 4
                    บรรณารักษ์ 5    ระดับ 5
                    บรรณารักษ์ 6    ระดับ 6
                    
บรรณารักษ์ 7    ระดับ 7
                    
บรรณารักษ์ 8    ระดับ 8
                    
บรรณารักษ์ 9    ระดับ 9
                    
บรรณารักษ์ 10   ระดับ 10 
ชื่อตำแหน่ง                                                        บรรณารักษ์   3 

หน้าที่และความรับผิดชอบ
         ปฏิบัติงานบรรณารักษ์ที่ยากพอสมควร โดยมีคู่มือหรือแนวปฏิบัติหรือคำสั่งอย่างกว้างๆ และอยู่ภายใต้การกำกับตรวจสอบเฉพาะกรณีที่จำเป็น และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
         ปฏิบัติงานที่ยากพอสมควรเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์  โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น พิจารณาจัดหาหนังสือเข้าห้องสมุด ให้เลขหมู่หนังสือ ทำดรรชนี บรรณานุกรม สารสังเขป กฤตภาค     เก็บรวบรวมสถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับห้องสมุด ให้คำแนะนำปรึกษา และบริการในการค้นหาหนังสือแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ และผู้สนใจอื่น ๆ เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับงานสอน งานวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
         ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
  
 ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
        
1. มีความรู้ความสามารถในงานบรรณารักษ์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
         2. มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา กฎหมาย   ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
         3. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทย
         4. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาและคอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
         5. มีความสามารถในการศึกษาและจัดการข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล
         6. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน
ชื่อตำแหน่ง                                                        บรรณารักษ์   4 

หน้าที่และความรับผิดชอบ
        
ปฏิบัติงานบรรณารักษ์ที่ยาก โดยมีคู่มือหรือแนวปฏิบัติหรือคำสั่งอย่างกว้างๆและอยู่ภายใต้การกำกับตรวจสอบเฉพาะกรณีที่จำเป็น และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
        
ปฏิบัติงานที่ยากเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น พิจารณาจัดหาและคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด ให้เลขหมู่หนังสือ ทำดรรชนี บรรณานุกรม สารสังเขป      กฤตภาค เก็บรวบรวมสถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับห้องสมุด ให้คำแนะนำปรึกษา และบริการในการค้นหาหนังสือแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ และผู้สนใจอื่น ๆ เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับงานสอน งานวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ให้ข้อเสนอแนะและปรับปรุงแก้ไข จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน จัดทำคู่มือเพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าหนังสือในห้องสมุด เป็นต้น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาและแก่นักศึกษาที่มาฝึกปฏิบัติงาน ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
        
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งบรรณารักษ์ 3 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 3 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้ว     ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
         2. ได้รับปริญญาโทหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
         นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับบรรณารักษ์ 3 แล้ว จะต้อง
         1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานที่สังกัด
         2. มีความสามารถในการจัดทำแผนงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ และเสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ชื่อตำแหน่ง                                                        บรรณารักษ์   5 

หน้าที่และความรับผิดชอบ
         ปฏิบัติงานบรรณารักษ์ที่ค่อนข้างยากมาก โดยใช้ความคิดริเริ่มบ้าง มีคู่มือ แนวปฏิบัติ หรือคำสั่งในบางกรณีและอยู่ภายใต้การกำกับตรวจสอบน้อยมาก และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
         ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยากมากเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์  โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ     หลายอย่าง เช่น พิจารณาจัดหาหนังสือเข้าห้องสมุด ให้เลขหมู่หนังสือ ทำดรรชนี บรรณานุกรม สารสังเขป
กฤตภาค เก็บรวบรวมสถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับห้องสมุด ศึกษาค้นคว้า วิธีการเทคนิคใหม่ๆ ทางด้านบรรณารักษ์เพื่อปรับปรุงห้องสมุด ให้คำแนะนำปรึกษา และบริการในการค้นหาหนังสือแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ และผู้สนใจอื่น ๆ เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับงานสอน งานวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์หรือสังเคราะห์งาน  ทางด้านบรรณารักษ์ เผยแพร่ผลงานทางด้านบรรณารักษ์ ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์หรือสังเคราะห์งานทางด้านบรรณารักษ์ เผยแพร่ผลงานทางด้านบรรณารักษ์  ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาและแก่นักศึกษาที่มาฝึกปฏิบัติงาน ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆเกี่ยวกับงาน      ในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
        
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งบรรณารักษ์ 3 หรือบรรณารักษ์ 4 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 4 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
         2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งบรรณารักษ์ 3 ได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 3 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้ว      ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
         3. ได้รับปริญญาเอกหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
 ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
         
นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับบรรณารักษ์ 4 แล้ว จะต้อง
          1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
          2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

ชื่อตำแหน่ง                                                         บรรณารักษ์ 6

หน้าที่และความรับผิดชอบ
        
ปฏิบัติงานบรรณารักษ์ที่ยากมาก โดยต้องใช้ความคิดริเริ่มในงานที่มีแนวปฏิบัติน้อยมาก และอยู่ภายใต้การกำกับตรวจสอบน้อยมาก และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
         ปฏิบัติงานในฐานะผู้ชำนาญการในงานบรรณารักษ์ โดยงานที่ปฏิบัติต้องใช้ความรู้ความสามารถ
ความชำนาญงานและประสบการณ์สูง ต้องคิดริเริ่มกำหนดแนวทางการทำงาน แก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
         ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงานและประสบการณ์ทางด้านบรรณารักษ์    โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น วิเคราะห์จัดหมวดหมู่หนังสือ ให้บริการค้นหาหนังสือทั่วไป และศึกษา ค้นคว้าหนังสือทางด้านวิชาการแขนงต่าง ๆ จัดทำบรรณานุกรม ดรรชนี บริการตอบคำถามเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ใช้ห้องสมุดโดยศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมจากหนังสือต่างๆ หนังสือพิมพ์ วารสาร สิ่งพิมพ์ หรือหนังสือตัวเขียน และคำจารึกต่างๆ ที่มีอยู่ในหอสมุด วิเคราะห์เพื่อการให้เลขหมู่หนังสือ ขยายเลขหมู่หนังสือ และทำบัตรรายการให้ได้มาตรฐานสากล และเหมาะสมกับลักษณะและประเภทของหนังสือที่มีอยู่ พิจารณาในการใช้วิธีการ และเทคนิคใหม่ทางด้านบรรณารักษ์  ให้การฝึกอบรมการปฏิบัติงานของห้องสมุด ดำเนินการและแก้ปัญหาข้อขัดข้องในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานวิชาการ ศึกษาวิจัยต่าง ๆ ทางด้านบรรณารักษ์ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ หรือวิจัยงานทางด้านบรรณารักษ์ เผยแพร่ผลงานทางด้านบรรณารักษ์ ทำความเห็น สรุปรายงาน เสนอแนะและดำเนินการเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ จัดทำเอกสารวิชาการ  คู่มือเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์สังเคราะห์ หรือวิจัยงานด้านบรรณารักษ์ เป็นต้น เผยแพร่ผลงานทางด้านบรรณารักษ์ ทำความเห็น             สรุปรายงาน เสนอแนะและดำเนินการเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ จัดทำเอกสารวิชาการ คู่มือเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาและแก่นักศึกษาที่มาฝึกปฏิบัติงาน ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง   เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานของหน่วยงาน   ที่สังกัด และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
        
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งบรรณารักษ์ 3 หรือบรรณารักษ์ 4 หรือบรรณารักษ์ 5 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 5 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
         2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งบรรณารักษ์ 3 หรือบรรณารักษ์ 4 หรือบรรณารักษ์ 5 และได้   ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 4 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
          นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับบรรณารักษ์ 5 แล้ว จะต้องมีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน หรือมีความชำนาญงานในหน้าที่และมีประสบการณ์
ชื่อตำแหน่ง                                                         บรรณารักษ์ 7

หน้าที่และความรับผิดชอบ
         ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน ควบคุมการปฏิบัติงานบรรณารักษ์ที่มีขอบเขตเนื้อหาของงานหลากหลาย และมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนค่อนข้างมาก โดยต้องกำหนดแนวทางการทำงานที่เหมาะสมกับสถานการณ์ กำกับ ตรวจสอบ ผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จตามวัตถุประสงค์        และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
            ปฏิบัติงานในฐานะผู้ชำนาญการในงานบรรณารักษ์ โดยงานที่ปฏิบัติต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงานและประสบการณ์สูงมากโดยต้องคิดริเริ่มปรับเปลี่ยนแนวทางให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ๆ และแก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
          ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงานและประสบการณ์ทางด้านบรรณารักษ์    สูงมาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ปฏิบัติงานวิจัยเพื่อพัฒนาแนวทางวิธีการในงานบรรณารักษ์ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ หรือวิจัยเพื่อกำหนดลักษณะและมาตรฐานในการปฏิบัติงานบรรณารักษ์  ทำความเห็น สรุปรายงาน เสนอแนะและดำเนินการเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ ศึกษา ค้นคว้า หาวิธีการในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานงานบรรณารักษ์ เป็นต้น  พัฒนาเอกสารวิชาการ คู่มือเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ เข้าร่วมประชุมและชี้แจงรายละเอียดต่อคณะกรรมการต่างๆ ฝึกอบรมเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวิธีการของงานในความรับผิดชอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ เข้าร่วมประชุม
คณะกรรมการต่างๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานของหน่วยงานที่สังกัด และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
             ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังทำหน้าที่กำหนดแผนงาน มอบหมาย ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผล และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งงานบรรณารักษ์ 3 หรืองานบรรณารักษ์ 4 หรืองานบรรณารักษ์ 5 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 6 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานงานบรรณารักษ์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งงานบรรณารักษ์ 3 หรืองานบรรณารักษ์ 4 หรืองานบรรณารักษ์ 5 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 5 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานงานบรรณารักษ์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
          นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับบรรณารักษ์ 6 แล้ว จะต้องมีความสามารถในการบริหารและจัดระบบงาน หรือมีความชำนาญงานในหน้าที่และมีประสบการณ์สูงมาก ตลอดจนมีความรู้ ความเข้าใจในนโยบายการบริหารงานของรัฐบาล และปัญหาด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

ชื่อตำแหน่ง                                                         บรรณารักษ์ 8

หน้าที่และความรับผิดชอบ
         ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน  ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุม กำกับ หน่วยงานด้านบรรณารักษ์ที่มีขอบเขตเนื้อหาของงานหลากหลายและมีขั้นตอนการทำงานยุ่งยากซับซ้อนมาก โดยต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ใหม่ แก้ไขปัญหาในงาน  ตลอดจนกำกับ ตรวจสอบผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จตามวัตถุประสงค์  และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
            ปฏิบัติงานในฐานะผู้ชำนาญการในงานบรรณารักษ์ โดยงานที่ปฏิบัติต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษ โดยต้องคิดริเริ่มพัฒนาแนวทางให้เหมาะสมเพื่อหาวิธีการใหม่ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนแก้ไขปัญหาและตัดสินใจในงานที่รับผิดชอบให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
  ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้  ความสามารถ  ความชำนาญงานและประสบการณ์ทางด้านบรรณารักษ์สูงมากเป็นพิเศษ  โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ปฏิบัติงานวิจัยที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเทคนิควิธีการในงานบรรณารักษ์ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจัยเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการกำหนดลักษณะและมาตรฐานในการปฏิบัติงานบรรณารักษ์ ควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานบรรณารักษ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด  ทำความเห็น สรุปรายงาน    ให้คำปรึกษา เสนอแนะการดำเนินการเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์  ศึกษา ค้นคว้า   หาวิธีการในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ เป็นต้น พัฒนาเอกสารวิชาการ คู่มือเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ เข้าร่วมประชุมและชี้แจงรายละเอียดต่อคณะกรรมการต่างๆ  ฝึกอบรมเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวิธีการของงานในความรับผิดชอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่        เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่างๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานของหน่วยงานที่สังกัด  และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
               ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังทำหน้าที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมาย ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผล และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบ

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งบรรณารักษ์ 3 หรือบรรณารักษ์ 4 หรือบรรณารักษ์ 5 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 7 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ                                                                                                                                 
          2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งบรรณารักษ์ 3 หรือบรรณารักษ์ 4 หรือบรรณารักษ์ 5 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 6 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับบรรณารักษ์ 7 แล้ว จะต้องมีความชำนาญงานในหน้าที่และมีประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษ
ชื่อตำแหน่ง                                                         บรรณารักษ์ 9

หน้าที่และความรับผิดชอบ
         ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน  ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุม กำกับหน่วยงานด้านบรรณารักษ์ที่มีขอบเขตเนื้อหาของงานหลากหลายและมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนมากเป็นพิเศษ ตลอดจนกำกับ ตรวจสอบผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จตามวัตถุประสงค์  และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย  หรือ
            ปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญในงานบรรณารักษ์ โดยงานที่ปฏิบัติต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง และมีผลงานที่แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับโดยต้องคิดริเริ่ม  ยกเลิก หรือกำหนดขั้นตอนและตัดสินใจเกี่ยวกับทรัพยากรที่จะนำมาใช้เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนงานโครงการสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์  ตลอดจนเสนอแนะและประเมินผลแผนงานโครงการ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
           ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงทางด้านบรรณารักษ์โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ริเริ่มการดำเนินงานวิจัยต่างๆ ในงานบรรณารักษ์ปฏิบัติงานวิจัยที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่หรือเทคนิควิธีการใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่องานบรรณารักษ์  ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์และวิจัยเพื่อวางหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ วิจัย ประเมินผลรวมทั้งกำหนดวิธีการและระเบียบปฏิบัติทางด้านบรรณารักษ์ ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจัยเพื่อพัฒนาระบบหรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานบรรณารักษ์ศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัยเพื่อเสนอความเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่มีความยุ่งยากมากและมีขอบเขตกว้างขวางมากทางด้านบรรณารักษ์ และแนวทางแก้ไขปัญหา  ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านบรรณารักษ์และในด้านที่เกี่ยวข้อง และนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงานของหน่วยงาน  เป็นที่ปรึกษาในโครงการวิจัยทางด้านบรรณารักษ์  ให้การบริการและเผยแพร่ความรู้ทางด้านบรรณารักษ์ ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่  เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่างๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง  เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานของหน่วยงานที่สังกัด  เป็นผู้แทนของมหาวิทยาลัย/สถาบันหรือของรัฐบาลในการเข้าร่วมประชุมหรือเจรจาปัญหาต่างๆเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ทั้งในและต่างประเทศ   และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง                           
               ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังทำหน้าที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมาย ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผล และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งบรรณารักษ์ 3 หรือบรรณารักษ์ 4 หรือบรรณารักษ์ 5 และได้ดำรงตำแหน่ง ในระดับ 8 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ                                                                                                                                                  
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งบรรณารักษ์ 3  หรือบรรณารักษ์ 4  หรือบรรณารักษ์ 5 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 7 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
          นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับบรรณารักษ์ 8 แล้วจะต้อง
            1.ในฐานะผู้เชี่ยวชาญจะต้องมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูง โดยมีผลงานที่แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับ และมีความสามารถในการให้คำปรึกษาแนะนำด้านงานบรรณารักษ์ แก่หน่วยงานที่สังกัดและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
            2. ในฐานะหัวหน้าหน่วยงานจะต้องมีความรู้และประสบการณ์เป็นพิเศษ และมีความสามารถในการ
ให้ปรึกษาแนะนำด้านงานบรรณารักษ์ แก่หน่วยงานที่สังกัดและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ชื่อตำแหน่ง                                                        บรรณารักษ์ 10

หน้าที่และความรับผิดชอบ
        ปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญพิเศษในงานบรรณารักษ์ โดยงานที่ปฏิบัติต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงมาก  และมีผลงานที่แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพ และ/หรือเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการบรรณารักษ์ โดยต้องกำกับ ดูแลงานที่เป็นหน้าที่หลักหรืองานที่ต้องการความ เชี่ยวชาญเฉพาะด้านของหน่วยงาน ต้องพัฒนาทบทวนและกำหนดแนวทาง แผนงาน โครงการระยะยาว ตลอดจนพิจารณาความต้องการทรัพยากร และจัดสรรทรัพยากรสำหรับโครงการเพื่อให้การดำเนินงานตามแผนงานโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ติดตามประเมินผล ประสานงาน   และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
           ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญพิเศษและประสบการณ์สูงมากทางด้านบรรณารักษ์ โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ริเริ่มและวางแผนดำเนินงานวิจัยต่างๆ ในงานบรรณารักษ์ กำกับ ตรวจสอบ ดูแลโครงการวิจัย ปฏิบัติงานวิจัยที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่หรือเทคนิควิธีการใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่องานบรรณารักษ์ เป็นอย่างมาก  ศึกษา วิเคราะห์  สังเคราะห์และวิจัยเพื่อวางหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ วิจัย ประเมินผล รวมทั้งกำหนดวิธีการและระเบียบปฏิบัติทางด้านบรรณารักษ์ ศึกษา วิเคราะห์  สังเคราะห์และวิจัยเพื่อพัฒนาระบบหรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานบรรณารักษ์ ศึกษา วิเคราะห์หรือวิจัย และวินิจฉัยเพื่อเสนอความเห็นเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ซึ่งมีลักษณะพิเศษเฉพาะด้านที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากและมีขอบเขตกว้างขวางมาก ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการในด้านบรรณารักษ์ และในด้านที่เกี่ยวข้อง และนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงานของหน่วยงาน  เป็นที่ปรึกษาในโครงการวิจัยที่สำคัญทางด้านบรรณารักษ์ เสนอแนะรูปแบบและเทคนิคเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ ที่เหมาะสม ให้การบริการและเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิชาการบรรณารักษ์ในระดับชาติหรือนานาชาติ          ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่  เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่างๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง  เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานของหน่วยงานที่สังกัด เป็นผู้แทนของกลุ่มมหาวิทยาลัย/สถาบันหรือของรัฐบาลในการเข้าร่วมประชุมหรือเจรจาปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ทั้งในและต่างประเทศ  และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
          1.มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งบรรณารักษ์ 3 หรือบรรณารักษ์ 4 หรือบรรณารักษ์ 5 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 9 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี  หรือ
          2.มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งบรรณารักษ์ 3 หรือบรรณารักษ์ 4 หรือบรรณารักษ์ 5 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 8 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงาน บรรณารักษ์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี  
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง          
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งบรรณารักษ์ 3 หรือบรรณารักษ์ 4 หรือบรรณารักษ์ 5 และได้ดำรงตำแหน่ง ในระดับ 8 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ                                                                                                                                                  
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งบรรณารักษ์ 3  หรือบรรณารักษ์ 4  หรือบรรณารักษ์ 5 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 7 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
          นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับบรรณารักษ์ 8 แล้วจะต้อง
            1.ในฐานะผู้เชี่ยวชาญจะต้องมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูง โดยมีผลงานที่แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับ และมีความสามารถในการให้คำปรึกษาแนะนำด้านงานบรรณารักษ์ แก่หน่วยงานที่สังกัดและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
            2. ในฐานะหัวหน้าหน่วยงานจะต้องมีความรู้และประสบการณ์เป็นพิเศษ และมีความสามารถในการ
ให้ปรึกษาแนะนำด้านงานบรรณารักษ์ แก่หน่วยงานที่สังกัดและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
           นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับบรรณารักษ์ 9 แล้ว จะต้องมีความเชี่ยวชาญพิเศษและมีประสบการณ์สูงมากทางด้านบรรณารักษ์ โดยมีผลงานที่แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพ และ/หรือเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการในระดับชาติ และ/หรือระดับนานาชาติ ตลอดจนมีความสามารถในการประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในด้านบรรณารักษ์  แก่หน่วยงานที่สังกัดและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ พ.ศ. 2550
ประกาศโดย
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 

1.     พึงให้บริการอย่างเต็มความสามารถ ด้วยบริการที่มีคุณภาพ และด้วยความเสมอภาคแก่ผู้รับบริการ
2.     พึงรักษาความลับ เคารพและปกป้องสิทธิส่วนบุคคล และสิทธิในการรับรู้ของผู้รับบริการ
3.     พึงมีความศรัทธาในวิชาชีพ และใช้วิชาชีพปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ อดทน และมุ่งประโยชน์ส่วนรวม โดยปราศจากการถูกครอบงำด้วยอิทธิพล หรือผลประโยชน์อันมิชอบทุกประการ
4.     พึงแสวงหาความรู้และพัฒนาตนทางวิชาการ วิชาชีพ อย่างต่อเนื่องให้ทันความเปลี่ยนแปลง และได้มาตรฐานทางวิชาการ วิชาชีพระดับสากล
5.     พึงเป็นกัลยาณมิตรของผู้ร่วมงาน ร่วมมือ สนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน เปิดโอกาสให้แก่กันและกัน และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ เพื่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
6.     พึงพัฒนาสัมพันธภาพและความร่วมมือระหว่างบุคคลและสถาบัน และธำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงและเกียรติภูมิของสถาบัน
7.     ไม่พึงใช้ตำแหน่งหน้าที่ ชื่อสถาบัน และทรัพยากรของสถาบันเพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตนหรือหมู่คณะโดยมิชอบ
8.     พึงยืนหยัดในหลักการแห่งเสรีภาพทางปัญญา เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และธำรงไว้ซึ่งเสรีภาพของห้องสมุดและเกียรติภูมิของวิชาชีพ
9.     พึงมีความรับผิดชอบต่อสังคม อุทิศตนเพื่อประโยชน์และความมั่นคงของสังคม         และมีบทบาทในการพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ
------------------------------------------------

จรรยาบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ พ.ศ. 2542

หมวดที่ 1 จรรยาบรรณต่อผู้ใช้
    • ให้คำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้ใช้ก่อนสิ่งอื่นใด
    • ให้ใช้วิชาชีพที่ได้ศึกษามาให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้อย่างเต็มความสามารถ
    • ให้ความเสมอภาคแก่ผู้ใช้โดยไม่คำนึง ฐานะ เชื้อชาติ ศาสนา สังคมและลัทธิการเมือง
หมวดที่ 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
    • ไม่ประพฤติหรือกระทำผิดใดๆ อันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
    • ต้องศึกษาและแสวงหาความรู้ เพื่อให้ตนมีวุฒิเข้าขั้นมาตรฐานที่สถาบันวิชาชีพกำหนดไว้ และหมั่นเพียรฝึกฝนทักษะ ตลอดจนหาวิธีการใหม่ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน
    • ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพผู้ร่วมอาชีพและเพื่อพัฒนาวิชาชีพ
    • ไม่ฝักใฝ่ในการเพิ่มพูนฐานะทางเศรษฐกิจส่วนตน จนเป็นการบั่นทอนการปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบ
หมวดที่ 3 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
    • ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ ความสามารถและความประพฤติดี
    • ให้ความเคารพและยอมรับในข้อตกลงที่เป็นมติของที่ประชุม
    • รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ
    • ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องยึดมั่นในคุณธรรมในการปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่มีอคติในการแต่งตั้งการพิจารณาความดีความชอบและการลงโทษ
หมวดที่ 4 จรรยาบรรณต่อสถาบัน
    • รักษาประโยชน์และชื่อเสียงของสถาบัน และไม่กระทำการอันใด ที่จะเป็นทางทำให้เกิดความเสื่อมเสีย
    • ร่วมมือและปฏิบัติด้วยดีตามนโยบายที่ผู้บังคับบัญชาได้รับมา เพื่อความก้าวหน้าของสถาบันโดยรวม
    • ไม่พึงใช้ชื่อและทรัพยากรของสถาบันเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือหมู่คณะโดยมิชอบ
หมวดที่ 5 จรรยาบรรณต่อสังคม
    • บรรณารักษ์ควรเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทภาระหน้าที่ที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่น และการพัฒนาประเทศ
    • พร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของชุมชน ด้วยการใช้วิชาชีพโดยสุจริตและไม่เป็นการเสียหายต่อภาระหน้าที่ที่ปฏิบัติอยู่
    • ควรพยายามป้องกันมิให้กิจกรรมใดๆ ที่เป็นภัยต่อสังคมแฝงไปในการดำเนินงานห้องสมุด

ปกิณกะ: รังกานาธานและปรัชญาวิชาชีพบรรณารักษ์
แนวคิดของแรงกานาธานยังคงอยู่แม้ว่าห้องสมุดทุกวันนี้จะเป็นห้องสมุดดิจิทัลกันแล้ว
โลกทุกวันนี้ก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลแล้ว ซึ่งรวมถึงการดำเนินงานห้องสมุดซึ่งก้าวเป็นห้องสมุดดิจิทัลกันมากขึ้น แม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปเพียงใดแต่วิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ยังคงอยู่ วันนี้ขอกล่าวถึง แรงกานาธาน หรือ Dr. Shiyali Ramamitra Ranganathan ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทในวิชาชีพบรรณารักษศาตร์ของประเทศอินเดีย และมีอิทธิพลทางแนวคิดแพร่หลายในลำดับต่อมา แนวคิดที่สำคัญประการหนึ่งของรังกานาธาน คือ ปรัชญาวิชาชีพบรรณารักษ์ 5 ประการ ดังนี้

1. หนังสือมีไว้ใช้ประโยชน์ (Books are for use) หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดจะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ ความคิด ความจรรโลงใจ หรือความบันเทิง
2. ผู้อ่านแต่ละคนมีหนังสือที่ตนจะอ่าน (Every reader his book) ห้องสมุดจะต้องพยายามจัดหาหนังสือ ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
3.  หนังสือทุกเล่มมีผู้อ่าน (Every books its reader) ห้องสมุดจะต้องพยายามช่วยให้หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดได้มีผู้อ่านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. ประหยัดเวลาของผู้อ่าน (Save the time of the reader) พยายามหาวิธีการต่าง ๆที่จะช่วยให้ผู้ใช้พบกับหนังสือเล่มที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
5. ห้องสมุดเป็นสิ่งเจริญเติบโตได้ (Library is growing organism) หรือห้องสมุดเป็นสิ่งมีชีวิต ห้องสมุดจะต้องพยายามจัดหาหนังสือและวัสดุเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ

                ห้องสมุดในยุคโลกดิจิทัล อาจไม่ใช่มีเฉพาะบรรณารักษ์เท่านั้น แต่แนวคิดนี้ยังสามารถปรับใช้ในการดำเนินการจัดบริการของห้องสมุดให้ตอบสนองความต้องการในยุคของสารสนเทศที่แพร่หลายได้ โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ตรงกับความต้องการ เข้าถึงได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีสารสนเทศใหม่ที่ทันสมัยอยู่เสมอ