วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

ธุรกิจเบื้องต้น การจัดทำธุรกิจเบื้องต้น



สรุปความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ

    ลักษณะทั่วไปและความสำคัญของธุรกิจ
ธุรกิจมีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตประจำวันและมีความจำเป็นต่อเศรษฐกิจ ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการเป็นพื้นฐาน และเพื่อขวานขวายให้ได้มาซึ่งสิ่งต่าง ๆ สำหรับมาบำบัดความต้องการของตนเองและครอบครัว จึงก่อให้เกิดกิจกรรม (Activities) ประเภทต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นธุรกิจขึ้น ธุรกิจจึงเกิดขึ้นโดยมีจุดมุ่งเพื่อจะบำบัดหรือสนองความต้องการของมวลมนุษย์ นั่นเอง
ธุรกิจเป็นพลังผลักดันที่ครอบคลุมไปทั่วสังคมของมนุษย์ เป็นที่ก่อให้เกิดการว่าจ้างแรงงาน เป็นแหล่งที่ใช้ทรัพยากรมากที่สุด เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดรายได้และภาษีอากร ซึ่งแต่ละปัจจัยดังกล่าวนี้มีอิทธิพลที่จะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและ สังคม
ความสำเร็จของธุรกิจขึ้นอยู่กับความสามารถและความชำนาญของมนุษย์ตลอดจน สุขภาพและความคิดอ่าน เพราะพลังคนเป็นสิ่งสำคัญในการประกอบการ อย่างไรก็ตามธุรกิจต่าง ๆ นั้นมิได้ตั้งขึ้นแต่เพียงเพื่อแสวงหากำไรเท่านั้น หากยังได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมโดยการจัดให้มีสินค้าและบริการสนองตอบความ ต้องการของสังคมด้วย

 ความหมายของธุรกิจและการประกอบ ธุรกิจ
คำว่า "ธุรกิจ" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Business" ซึ่งมาจากคำว่า Busy ที่แปลว่า ยุ่ง, วุ่น, มีงานมาก, มีธุระยุ่ง ดังนั้นธุรกิจจึงเป็นเรื่องที่จะต้องคิด ต้องแก้ปัญหา และต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
ความจริงคำว่า ธุรกิจ นี้เป็นคำกลาง ๆ ไม่ได้หมายความว่าเป็นเรื่องของเอกชนหรือของรัฐบาล และกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำกันโดยทั่ว ๆ ไปนั้นก็ถือว่าเป็นธุรกิจ เพียงแต่เวลาที่เราพูดถึงธุรกิจเรามักจะรับรู้ว่าเป็นเรื่องของเอกชน เป็นเรื่องของการมุ่งหวังกำไร เพราะฉะนั้นความหมายที่รับรู้กัน ณ วันนี้ก็คือว่า ธุรกิจเป็นเรื่องของกิจการที่เข้ามารับความเสี่ยง

 ความหมายของธุรกิจ (Business) หมายถึง กิจกรรมทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งมีความเกี่ยวพันในวงการของสถาบัน เพื่อที่จะจำหน่ายและให้บริการภายใต้กฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ โดยมีความสัมพันธ์กับบริการอื่นและกลุ่มผู้ทำงานร่วมมือให้บรรลุถึงจุดหมาย อันเดียวกัน คือ ความสำเร็จของหน่วยงาน

 การประกอบธุรกิจ หมายถึง การผลิตสินค้าและบริการ และการนำสินค้าและบริการนั้นมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ฉะนั้นถ้าการผลิตสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ได้ถูกนำมาใช้บริโภคเอง ไม่ได้นำไปขายหรือจำหน่ายจึงเรียกว่า การอุปโภคบริโภค (Consumption) ของตนเอง แต่ถ้าการผลิตสินค้าและบริการได้ถูกนำไปขายหรือจำหน่ายต่อไปจึงเรียกว่า การค้า (Commerces) / การประกอบธุรกิจ (Business Activities)
สรุปก็คือว่า ธุรกิจ เป็นกระบวนการดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิต การจำหน่าย และการให้บริการนั่นเอง

จุดมุ่งหมายของการประกอบธุรกิจ (Business Goals)
ผู้ประกอบธุรกิจแทบทุกประเภทมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญอย่างเดียวกัน คือ ต้องการกำไร แต่ธุรกิจไม่ควรมุ่งกำไรสูงสุด เพราะธุรกิจควรมีหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อสังคมด้วย นอกจากนี้ยังมีธุรกิจบางอย่างที่ตั้งขึ้นมาโดยไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่น กิจการไฟฟ้า ประปา การเดินรถประจำทาง โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา เป็นต้น

   สรุป บรรดาผู้ประกอบธุรกิจมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญพอจะแยกได้ 2 ประการ คือ
1. มุ่งหวังกำไร (Profit Earning) ได้แก่ ธุรกิจของเอกชนทั่วไป
2. ไม่ได้มุ่งหวังกำไร (Social Prestige) ได้แก่ ธุรกิจประเภทสาธารณูปโภค (Public Utilities) และสาธารณูปการ (Public Services) ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นของรัฐบาล
ข้อสังเกต ในการดำเนินธุรกิจนั้น ผลต่างระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งหมด คือ กำไรหรือขาดทุนของธุรกิจนั่นเอง

บุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับ ธุรกิจ
บุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องหลัก ๆ หรือเกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจ (Key Participants) นั้น อาจจำแนกออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) คือ ผู้ที่ยอมทุ่มเทเวลา ความพยายาม และเงินทุน เพื่อเริ่มและดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งหวังผลกำไรที่เกิดจากธุรกิจ เป็นผลประโยชน์ตอบแทนความเสี่ยงในการลงทุนทำธุรกิจ ซึ่งบางครั้งธุรกิจนอกจากจะไม่มีกำไรเป็นค่าตอบแทนความเสี่ยงแล้ว ยังอาจประสบกับภาวะขาดทุนด้วยก็ได้
ข้อสังเกต ผลตอบแทนความเสี่ยง (Risk) จากการลงทุนทำธุรกิจประเภทต่าง ๆ นั้น จะเป็นไปตามหลักการที่ว่า High Risk, High Returns กล่าวคือ ถ้ามีระดับความเสี่ยงต่ำผลตอบแทนก็มักต่ำ ถ้ามีระดับความเสี่ยงสูงผลตอบแทนก็มักจะสูง เช่น การซื้อล็อตเตอรี่มักจะมีความเสี่ยงสูง เพราะโอกาสที่จะถูกรางวัลมีน้อยมาก แต่ว่าถ้าถูกรางวัลใหญ่ ๆ แล้วผลตอบแทนจะสูงมาก เป็นต้น

2. ผู้ให้สินเชื่อ (Creditors) คือ ผู้ที่ให้เงินแก่ผู้ประกอบการกู้ยืมไปลงทุน โดยต้องการ
ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยและการส่งคืนเงินต้นจากกิจการ ซึ่งผู้ให้สินเชื่ออาจจะเป็นบุคคลหรือสถาบันการเงินก็ได้

3. พนักงานภายในองค์การธุรกิจ (Employees) คือ พนักงานทุกระดับนับตั้งแต่พนักงานระดับปฏิบัติการ
(คนงาน) หัวหน้างาน ผู้จัดการ จนกระทั่งถึงผู้บริหารระดับสูงของบริษัท (Chief Executive Officer : CEO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจและมีบทบาทมากในการสั่งการทุก ๆ อย่างภายในองค์การธุรกิจ
ข้อสังเกต โดยทั่วไป CEO มักจะเป็นประธานของบริษัท มีหน้าที่รับผิดชอบการกำหนดนโยบายและการวางแผนกลยุทธ์ภายในบริษัท

4. ลูกค้าของกิจการ (Customers) คือ บุคคลทั่วไปที่ให้การสนับสนุนกิจการโดยการซื้อ
สินค้าและบริการ กิจการทุกกิจการจะอยู่ไม่ได้เลยหากไม่มีลูกค้า ดังนั้นลูกค้าจึงเปรียบเหมือนหัวใจที่สำคัญที่สุดของกิจการ บางครั้งถึงขนาดมีการกล่าวกันว่า "ลูกค้าเปรียบเหมือนพระราชา" (Customers is the King) หมายความว่า เวลากิจการจะทำอะไรต้องยึดความพอใจของลูกค้าเป็นหลัก

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา วิชาธุรกิจ
พอสรุปได้ว่า เมื่อได้ศึกษาและมีความรู้ทางธุรกิจแล้วจะทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน คือ
1. เป็นผู้บริโภคและผู้ลงทุนที่ดี คือ การศึกษาถึงระบบธุรกิจจะทำให้ผู้ที่เป็นลูกค้าและผู้ลงทุนได้รับข้อมูลมาก ขึ้น เป็นผลให้เขาเหล่านั้นมีความฉลาดรอบรู้ที่จะตัดสินใจซื้อหรือจ่ายเงินเพื่อ ลงทุนมากขึ้นกว่าเดิม
2. เป็นลูกจ้างที่ดีขึ้น คือ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาธุรกิจจะช่วยให้เลือกอาชีพที่ถูกใจได้ดีขึ้น
3. ประโยชน์อื่น ๆ เช่น การได้รู้ซึ้งถึงสภาพอันแท้จริงของธุรกิจ ช่วยในการเริ่มต้นทำธุรกิจของตนเอง และช่วยในเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้น

 สาขาวิชาที่เกี่ยว ข้องกับธุรกิจ
การประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จจะต้องอาศัยความรู้ทางด้านต่าง ๆ ดังนี้ คือ
1. ด้านบัญชี (Accounting) 2. ด้านเศรษฐศาสตร์ (Economics)
3. ด้านสังคม (Sociology) 4. ด้านจิตวิทยา (Psychology)
5. ด้านการเมือง (Politic) 6. ด้านสถิติ (Statistic)
7. ด้านกฎหมายธุรกิจ (Business Law) 8. ด้านภาษาธุรกิจ (Business Knowledge)


เศรษฐกิจในรูปของธุรกิจเอกชน
เมื่อพูดถึงระบบเศรษฐกิจในรูปของธุรกิจเอกชน มีหลักสำคัญที่ต้องพิจารณาอยู่ 2 ประการ คือ
1. การเป็นเจ้าของในทรัพยากรการผลิต
2. ความมีโอกาสอย่างเสรีที่จะเลือกได้ตามความพอใจ

เนื่องจากการเป็นเจ้าของส่วนตัวในทรัพยากรการผลิต บางครั้งจึงเรียกระบบนี้ว่า ระบบทุนนิยม (Capitalism) หรืออาจเรียกว่า ระบบการประกอบกิจการเสรี (Free - Enterprise) เพราะประชาชนสามารถเลือกได้ว่าอะไรที่ตนจะทำ แต่ตามสภาพความเป็นจริงแล้ว เอกชนและผู้ประกอบการในระบบนี้ไม่ได้มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ต่อการที่จะเลือก ได้เองตามความพอใจ ดังนั้นจึงน่าจะใช้คำว่าการประกอบกิจการส่วนตัว (Private Enterprise) เหมาะสมกว่าที่จะใช้คำว่า ทุนนิยม หรือการประกอบกิจการเสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) เช่น ประเทศไทย เป็นต้น

   สิทธิขั้นพื้นฐานของระบบธุรกิจ เอกชน คือ
1. สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติ (Right to Property Ownership)
2. สิทธิในการได้มาซึ่งผลกำไร หรือแรงกระตุ้นกำไร (Profit Incentive)
3. สิทธิในการแข่งขันซึ่งกันและกัน หรือโอกาสในการแข่งขัน (Opportunity to Compete)
4. สิทธิในการมีเสรีภาพในการเลือกและการตกลงทำสัญญา (Freedom of Choice and Contract)


ปัจจัยในการผลิต (Factor of Production)
กระบวนการบริหารงานที่ถือว่าเป็นหลักสากลนั้น จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ปัจจัยนำเข้า (Inputs) , กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Outputs) สำหรับการผลิตก็เช่นเดียวกัน ทั้งนี้โดยการผลิต (Production) หมายถึง กระบวนการ (Process) ในการแปลงสภาพวัตถุดิบ (Inputs) ซึ่งก็คือทรัพยากรให้เป็นผลผลิต (Outputs) คือ สินค้าหรือบริการตามความต้องการของผู้บริโภค

ปัจจัยในการผลิต ประกอบ ด้วย
1. ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources) ได้แก่ ที่ดิน น้ำ ป่าไม้ แร่ธาตุ และพลังงานต่าง ๆ
2. แรงงาน (Labor) หมายถึง ทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ แรงงานฝีมือ แรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ
3. ทุน (Capital) หมายถึง โรงงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักร และเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินงาน
4. ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) หรือการประกอบการ หมายถึง ความเต็มใจที่จะเสี่ยง รวมทั้งความรู้และความสามารถที่จะใช้ปัจจัยการผลิตอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ

 สรุป ปัจจัยในการผลิตที่สำคัญก็คือ คน (Man) , เงิน (Money) , วัตถุดิบ (Material) , เครื่องจักร (Machine) และข้อมูลข่าวสาร (Information) ต่าง ๆ นั่นเอง

 ชนิดของระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ (Economic System) หมายถึง กลุ่มชนที่รวมกันเป็นกลุ่มสถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic Institution) ที่มีแนวปฏิบัติคล้าย ๆ กันมาประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อบำบัดความต้องการของผู้บริโภค ในการศึกษาระบบเศรษฐกิจต้องอาศัยวิชาเศรษฐศาสตร์เข้าช่วย

เศรษฐศาสตร์ (Economics) หมายถึง ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความพอใจในความต้องการของมนุษย์ โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คำถามพื้นฐาน 4 ประการ ที่ใช้ในการพิจารณาระบบเศรษฐกิจของประเทศ คือ
1. จะผลิตอะไร จำนวนเท่าไร
2. ผลิตอย่างไร
3. ผลิตเพื่อใคร
4. ใครเป็นเจ้าของและควบคุมปัจจัยหลักของการผลิต

ระบบเศรษฐกิจจะทำหน้าที่ตอบคำถาม พื้นฐานทั้ง 4 ประการ และจะเป็นตัวที่กำหนดการดำเนินการทาง เศรษฐกิจของสังคม โดยในปัจจุบันเราแบ่งระบบเศรษฐกิจออกเป็น 3 ระบบ คือ
1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism)
2. ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน ซึ่งประกอบด้วย ระบบสังคมนิยม (Socialism) และระบบคอมมิวนิสต์ (Communism)
3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)

ระบบทุนนิยม (Capitalism)
เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้เอกชนมีเสรีภาพในการดำเนินการทาง เศรษฐกิจว่าจะผลิตอะไร ผลิตเท่าใด ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร โดยเอกชนจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตต่าง ๆ รวมทั้งมีกรรมสิทธิ์ในสินค้าและบริการที่ผลิตได้
ระบบนี้รัฐบาลจะไม่เข้าไปมีส่วนยุ่งเกี่ยวหรือควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ถ้ามีก็มีน้อยที่สุด รัฐจะไม่แข่งขันกับเอกชน แต่เป็นผู้สนับสนุนเท่านั้น ทั้งนี้กลไกของตลาดจะเป็นตัวกำหนดของราคา กำไรเป็นสิ่งจูงใจสำคัญ นอกจากนี้สิ่งจูงใจที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การแข่งขันระหว่างกันอย่างเสรีทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคนั่นเอง

 ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน เป็นระบบที่มีการวางแผนมาจากรัฐบาลกลาง ประกอบด้วย
1. ระบบสังคมนิยม (Socialism) เป็นระบบเศรษฐกิจที่จำกัดเสรีภาพของเอกชน โดยรัฐบาลจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิตขนาดใหญ่ และเป็นผู้ดำเนินการควบคุมการผลิตในกิจการที่สำคัญ ๆ ที่มีผลกระทบต่อคนทั้งประเทศ โดยพยายามที่จะจัดสรรรายได้ให้เท่าเทียมกันมากที่สุด ภายใต้ระบบนี้เอกชนอาจจะมีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจขนาดเล็ก ๆ ได้ แต่รัฐจะเข้าไปควบคุมแทรกแซง และเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าหรือบริการเอง

2. ระบบคอมมิวนิสต์ (Communism) เป็น ระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะถือกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรทางเศรษฐกิจทั้งหมด เพื่อให้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าและบริการเป็นของประชาชนทั้ง มวล ในปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบคอมมิวนิสต์อย่างสมบูรณ์จริง ๆ นั้นไม่มีเหลืออยู่อีกแล้ว จะมีก็แต่ระบบสังคมนิยมที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดเท่านั้น คือ ยอมให้ทำการค้าเสรีได้บ้าง เป็นต้น
จุดอ่อนที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน คือ ภาคเอกชนขาดเสรีภาพในการผลิตและการบริโภค ทำให้ขาดแรงจูงใจในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินธุรกิจทุกอย่างต้องเป็นไปตามความต้องการของรัฐบาล นั่นเอง

 ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)
เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมกันระหว่างแบบทุนนิยมกับสังคมนิยม คือ รัฐจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และการผลิตขั้นพื้นฐานหรือโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) แต่เอกชนก็เป็นเจ้าของได้เช่นกัน ทั้งนี้รัฐอาจจะเข้าแทรกแซงกลไกทางการตลาดได้บ้างในบางกรณี เช่น เพื่อสวัสดิการของประชาชน เป็นต้น

  การวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth)
 ความสามารถในการผลิต (Productivity) หมายถึง ระดับเฉลี่ยของผลผลิตต่อคนงานต่อชั่วโมง เป็นการวัดประสิทธิภาพของการผลิตสำหรับระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบ การเพิ่มขึ้นของความสามารถในการผลิตเป็นผลจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะทำให้แรงงานสามารถผลิตสินค้าและบริการได้จำนวนมากขึ้น

การวัดผลผลิตทางเศรษฐกิจแห่งชาติของแต่ละประเทศ ทำได้โดยใช้ผลิตภัณฑ์ ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product หรือ GNP) ซึ่งหมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตโดยประชาชนประเทศนั้นในงวดเวลา ที่กำหนด (ปกติภายในระยะเวลา 1 ปี) และการที่จะวัดรายได้ประชาชาติ (GNP) ของประเทศใดสมควรใช้ GNP ต่อคน (GNP per Capita) จึงจะทราบถึงความเจริญเติบโตที่แท้จริง

นักเศรษฐศาสตร์อาจนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product หรือ GDP) ซึ่งหมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศในระยะ เวลา 1 ปี มาเป็นเครื่องวัดผลการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจ คำนิยามของผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP นี้จะคล้ายกับ GNP มาก แต่มีข้อแตกต่างคือ GDP จะไม่รวมรายได้สุทธิจากต่างประเทศ

ชนิดของการแข่งขัน
ระบบตลาดเสรี (Free - Market System) แสดงให้เห็นการแข่งขันระหว่างผู้ขายสินค้าและทรัพยากร          นักเศรษฐศาสตร์แบ่งการแข่งขันในตลาดออกเป็น 4 ตลาด คือ

1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Pure Competition) เป็นสถานการณ์ทางตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายสินค้า ชนิดเดียวกันหลายราย แต่ไม่มีใครมีอิทธิพลมากพอที่จะควบคุมราคาสินค้านั้นได้ เพราะสินค้ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน สามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ การเข้าสู่ตลาดหรือออกจากตลาดของผู้ผลิตเป็นไปโดยง่าย ตลอดจนผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้เกี่ยวกับตลาดเป็นอย่างดี ความจริงแล้วตลาดชนิดนี้ไม่มีอยู่จริงในโลก และถือเป็นเพียงตลาดในอุดมคติ (Ideal Market) เท่านั้น

2. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) เป็นตลาดที่มีสภาพใกล้เคียงกับความ เป็นจริงในปัจจุบันมากที่สุด คือ เป็นระบบตลาดที่มีผู้ขายจำนวนมาก โดยขายผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน ทั้งนี้ในการเข้าสู่ตลาดหรือออกจากตลาดในระยะยาวจะค่อนข้างง่าย เช่น ระบบตลาดของไทย และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

3. ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) เป็นตลาดที่มีผู้ขายตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป โดยทั่วไปเป็นผู้ขายรายใหญ่ ทั้งจำนวนเงินลงทุนและขนาดของกิจการ โดยอาจจะขายผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ เช่น ตลาดน้ำอัดลมของไทย เป็นต้น

4. ตลาดผูกขาด (Monopoly) คือ ตลาด (หรืออุตสาหกรรม) ที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดทดแทนได้ เช่น การผลิตบุหรี่ของโรงงานยาสูบ การผลิตไฟฟ้า ประปา เป็นต้น

หน้าที่องค์การธุรกิจ (Business Function)
หน้าที่ขององค์การธุรกิจที่สำคัญ มีดังนี้
1. องค์การและการจัดการ (Organization and Management : O & M)
องค์การ (Organization) เป็นระบบการจัดการที่ออกแบบและดำเนินงานให้บรรลุวัตถุ-ประสงค์เฉพาะอย่าง หรือหมายถึง บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ทำงานร่วมกัน และประสานงานกัน เพื่อให้ผลลัพธ์ของกลุ่มประสบความสำเร็จ
การจัดการ (Management) เป็นกระบวนการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ โดยใช้การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organization) การชักนำ (Leading) และการควบคุม (Controlling) มนุษย์ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ การเงิน ทรัพยากรข้อมูลขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2. การผลิตและการปฏิบัติการ (Production and Operations) เป็น กิจกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและบริการ โดยผ่านกระบวนการแปรสภาพ (Conversion Process) จากปัจจัยนำเข้า (Input) เพื่อให้ออกมาเป็นปัจจัยนำออก (Output) เพื่อให้มีความสม่ำเสมอในการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับการออกแบบทางวิศวกรรม โดยก่อให้เกิดผลเสียต่ำสุดและเกิดผลผลิตสูงสุดตลอดจนมีความรวดเร็วต่อการ ปรับเข้าหาความต้องการซื้อของลูกค้าได

3. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management : HRM) เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุ ประสงค์ขององค์การและเป้าหมายเฉพาะบุคคล

4. การตลาด (Marketing) เป็นกระบวนการวางแผนและการบริหารแนวความคิดเกี่ยวกับการตั้งราคา การส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่ายสินค้า บริการหรือความคิดเพื่อสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยน เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของบุคคลและบรรลุเป้าหมายขององค์การ

5. การบัญชี (Accounting) เป็นขั้นตอนของระบบการรวบรวม การวิเคราะห์และการรายงานหรือสรุปข้อมูลทางการเงิน หรือเป็นการออกแบบระบบการบันทึกรายการ การจัดทำรายงานทางการเงิน โดยใช้
ข้อมูลที่บันทึกไว้และแปลความหมายของรายการนั้น

6. การเงิน (Finance) เป็นการใช้กลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อความอยู่รอด ความเจริญเติบโต และความคล่องตัวทางด้านการเงิน เพื่อให้เกิดกำไรสูงสุดและความมั่งคั่งสูงสุด หรือเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงินทุน และการใช้เงินทุนด้วยวิธีการที่ทำให้เกิดมูลค่าของธุรกิจสูง

7. ระบบสารสนเทศ (Information System : IS) หรือ ระบบสารสนเทศของกิจการ (Management Information System : MIS) เป็นระบบของกระบวนการข้อมูลที่ออกแบบเพื่อรวบรวม เก็บรักษา แยกแยะ และนำกลับมาใช้เพื่อสนับสนุนการวางแผน การตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม

วงจรธุรกิจ (Business Life Cycle)
วงจรธุรกิจมีลำดับขั้นตอน 4 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นเจริญรุ่งเรือง (Prosperity) เป็นขั้นตอนที่นักลงทุนนิยมลงทุนมากที่สุด เพราะเป็นขั้นที่ธุรกิจกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว
2. ขั้นถดถอย (Recession) เป็นขั้นที่การลงทุนโดยทั่วไปจะลดลง ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากธุรกิจมีการขยายตัวเต็มที่แล้ว
3. ขั้นตกต่ำ (Depression) เป็นขั้นที่ธุรกิจจำเป็นต้องลดการผลิตและลดการลงทุน เนื่องจากสินค้าขายไม่ออกและมีราคาต่ำจนผู้ผลิตขาดทุน
4. ขั้นฟื้นตัว (Recovery) เป็นขั้นที่ธุรกิจเริ่มฟื้นตัวและเข้าสู่ขั้นเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง
ข้อสังเกต การดำเนินการทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน ควรมุ่งเน้นในเรื่อง Feasible Profit คือ การทำกำไรเท่าที่สามารถจะทำได้หรือเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำและถดถอยในยุคปัจจุบันนั้น การประคองตัวให้ธุรกิจอยู่รอดก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว
Four Tigers (4 เสือเศรษฐกิจของเอเชีย) หมายถึง 4 ประเทศที่พัฒนาเศรษฐกิจสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (Newly Industrial Countries : NIC) ซึ่งได้แก่ เกาหลีใต้ (South Korea) , ไต้หวัน (Taiwan) , ฮ่องกง (Hong Kong) และสิงคโปร์ (Singapore)
-fa �$: T �Y �oX Roman"; mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:major-bidi;color:#333333'>9. การจัดกระบวนการจัดสิ่งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป

10. กำหนดการผลิตและปฏิบัติการ
11.การดำรงรักษาเครื่องมือและเครื่องจักร
องค์ประกอบที่ 7  แผนสนับสนุน คือ แผนการจัดการและแผนคน
ผู้จัดทำแผนจะต้องระบุโครงสร้างขององค์การให้ชัดเจน  โดยแสดงแผนผังโครงสร้างขององค์การว่าประกอบด้วยหน่วยงานอะไรบ้าง  หน่วยงานแต่ละหน่วยมีความรับผิดชอบอะไรบ้าง  รวมถึงตำแหน่งบริหารหลักๆ ขององค์การ  โครงสร้างของคณะกรรมการและการถือหุ้น   การเขียนในส่วนนี้ควรจะทำให้ผู้อ่านเห็นว่าคณะผู้บริหารรวมตัวกันในลักษณะเป็นทีมงานที่ดีในการบริหาร  มีความสมดุลในด้านความรู้  ความสามารถที่ครบถ้วน  ทั้งด้านเทคนิคและการบริหาร  มีความชำนาญและประสบการณ์ในกิจการที่ทำ  ซึ่งแผนส่วนนี้ควรประกอบไปด้วยรายละเอียดคือ
1.โครงสร้างองค์การ
2.ตำแหน่งบริหารหลักๆ ระบุบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในแต่ละตำแหน่ง
3.ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้บริหาร
4. ผู้ร่วมลงทุน
5. คณะกรรมการบริษัท
องค์ประกอบที่ 8 แผนควบคุม คือ แผนการเงิน
ในการจัดทำแผนธุรกิจนั้น เจ้าของกิจการต้องทราบให้ได้ว่าแผนที่จัดทำขึ้น จะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนเท่าใด  จะหามาได้จากแหล่งใดบ้าง  จากแหล่งเงินทุนภายในหรือภายนอก  (Financing Activities) จากนั้นก็จะเป็นเรื่องของการตัดสินใจนำเงินไปลงทุน (Investing Activities) ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ   กิจกรรมที่สำคัญต่อไปก็คือกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities) ซึ่งประกอบไปด้วยการผลิต  การซื้อ  การขาย และการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ  ซึ่งนักบัญชีจะเป็นผู้นำเสนอผลของกิจกรรมทั้งสาม  และสรุปออกมาเป็นงบการเงิน (Financial Statements)  ซึ่งเป็นรายงานขั้นสุดท้ายที่จะแสดงให้เห็นถึงข้อมูลทางการเงินของธุรกิจ หรืออาจจะเป็นงบการเงินที่ครอบคลุมการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง  ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าในรอบระยะเวลาที่ผ่านมานั้น  ธุรกิจมีฐานะการเงินอย่างไร  กำไรหรือขาดทุน  มีการเปลี่ยนแปลงในเงินสดอย่างไรบ้าง  เพิ่มขึ้นหรือลดลง และสาเหตุเกิดจากอะไร
งบการเงินจะต้องประกอบไปด้วย  งบดุล  งบกำไรขาดทุน  งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ  งบกระแสเงินสด  และ นโยบายบัญชี  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกิจการควรเปิดเผยรายการบัญชีในเรื่องต่อไปนี้ไว้ในงบการเงิน  ได้แก่  วิธีการรับรู้รายได้  การตีราคาสินค้าคงเหลือ  การตีราคาเงินทุน  ค่าเผื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ  วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาและการตัดบัญชีสินทรัพย์ไม่มีตัวตน  การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ  และการจัดทำงบการเงินรวม
องค์ประกอบที่ 9 แผนการดำเนินงาน
แผนการดำเนินงานก็คือการจัดทำรายละเอียดของกลยุทธ์ดังกล่าว  โดยการกำหนดกิจกรรมของกลยุทธ์แต่ละด้านให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน  โดยในทางปฏิบัติผู้ประกอบการอาจจะทำแผนการดำเนินงานในลักษณะของตารางที่มีรายละเอียดของเป้าหมาย  กลยุทธ์  วิธีการ  งบประมาณ  และระยะเวลาดำเนินการ  โดยจัดทำรายละเอียดเป็นรายเดือน หรือรายสัปดาห์  ตามที่ผู้ประกอบการเห็นสมควร
องค์ประกอบที่ 10 แผนฉุกเฉิน
เป็นองค์ประกอบสุดท้ายที่ต้องมีการคิดและเขียนไว้ล่วงหน้า  เพื่อเป็นการเตรียมแนวทางการดำเนินงานในกรณีที่สถานการณ์  หรือผลลัพธ์จากการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดไว้  หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น  จนเป็นผลกระทบในทางลบกับกิจการ  ซึ่งโดยทั่วไปผู้ประกอบการควรอธิบายลักษณะความเสี่ยงทางธุรกิจที่อาจส่งผลให้การดำเนินธุรกิจไม่เป็นไปอย่างราบรื่นตามแผนที่ได้กำหนดไว้




การจัดทำธุรกิจเบื้องต้น
ปัจจัยในการประกอบธุรกิจ
                     การดำเนินธุรกิจต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างรวมกัน จึงจะเกิดกิจกรรมในการประกอบธุรกิจจะขาดปัจจัยใดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ได้ โดยทั่วไปปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจมี 4 ประเภท ที่เรียกว่า 4 Mได้แก่
            1. Man (คน) ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะธุรกิจต่างๆเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความคิดของคน มีคนเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นผู้จัดการ จึงจะทำให้เกิดกิจกรรมทางธุรกิจหลายรูปแบบซึ่งในวงจรธุรกิจมีคนหลายระดับ หลายรูปแบบ ทั้งระดับผู้บริหาร ผู้ใช้แรงงาน ร่วมกันดำเนินการจึงจะทำให้ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ
            2. Money (เงิน) เงินทุนเป็นปัจจัยในกานดำเนินธุรกิจอีกชนิดหนึ่งที่ต้องนำมาใช้ในการลงทุนเพื่อให้เกิดการประกอบธุรกิจ โดยธุรกิจแต่ระประเภทใช้ปริมาณเงินทุนที่แตกต่างกัน ธุรกิจขนาดใหญ่ย่อมใช้เงินทุนสูงกว่ากิจขนาดเล็กกว่า ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องมีการวางแผนในการใช้เงินทุน และการจัดหาเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้การดำเนินธุรกิจไม่ประสบปัญหาด้านเงินทุน และก่อให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด คุ้มกับเงินที่นำมาลงทุน
            3. Material (วัสดุหรือวัตถุดิบ) ในการผลิตสินค้าต้องอาศัยวัตถุดิบในกานผลิตค่อนค้างมาก ผู้บริหารจึงต้องรู้จักการบริหารวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ต้นทุนด้านวัตถุดิบต่ำสุด อันจะส่งผลให้ธุรกิจมีผลกำไรสูงสุดตามมา
            4. Method (วิธีปฏิบัติงาน) เป็นวิธีการในการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต้องมีการวางแผนและควบคุม เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ เกิดความคล่องตัวสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกกิจการ
                เป้าหมายในการจัดทำธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจ คือ ความต้องการให้ได้มาซึ่งผลกำไรมากที่สุด (Maximized Profits) ในระยะยาว ซึ่งก่อให้เกิดความมั่งคั่งแก่ผู้ประกอบการส่วนเป้าหมายรองอื่นๆได้แก่ ความมีชื่อเสียง การรักษาสถานภาพของบริษัท เป็นต้น การที่จะทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จได้นั้น (กำไรสูง) จะต้องมุ่งความสำคัญไปที่กลุ่มเป้าหมายว่าเป็นใครเป็นผู้บริโภคซึ่งจะเน้นถึงการผลิตสินค้า และบริการที่จะทำให้ผู้บริโภคเกิดความพอใจมากที่สุดนำสินค้าและบริการไปใช้ และทำให้ยอดจำหน่ายสูง กำไรก็สูงตามมาในที่สุด การผลิตสินค้าที่จะทำให้ผู้บริโภคพอใจนั้นจะต้องคำนึงถึงว่าจะผลิตอย่างไร และต้องหาปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จได้นั้นนักวิชาการได้กำหนดขึ้นมาในอดีตมีองค์ประกอบ 4 M’s ด้วยกัน แต่ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอในการประกอบการจึงมีเพิ่มขึ้นอีกเป็น 6 M’s หรืออาจจะมากกว่านี้ก็ได้ ซึ่งได้แก่
          1. Money หมายถึง เงินลงทุน ซึ่งแหล่งเงินทุนนั้นจะได้มาจาก 2 แหล่งด้วยกัน คือ จากเจ้าของและจากการกู้ยืม
          2. Manpower หมายถึง แรงงานคน ที่จะนำไปใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ
          3. Materials หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ วัตถุดิบ เครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆ
          4. Management หมายถึง การจัดการ การวางนโยบายหรือการวางแผนงานในด้านการใช้ปัจจัยการผลิตให้เหมาะสม
          5. Marketing หมายถึง การดำเนินการด้านการตลาดในการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมา ให้กับกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเป้าหมาย
          6. Method หมายถึง การกำหนดหลักเกณฑ์ หรือระเบียบ วิธีการต่างๆ ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ดีที่สุด เพื่อความมีประสิทธิภาพ และธุรกิจจะได้ประสบผลสำเร็จ
องค์ประกอบที่สำคัญในแผนธุรกิจ
ส่วนองค์ประกอบสำคัญในแผนธุรกิจนั้นที่จริงแล้วมิได้มีการกำหนดไว้ตายตัว  แต่อย่างไรก็ตามองค์ประกอบหลักที่นักลงทุนมักพิจารณาว่าเป็นสิ่งสำคัญและต้องการที่จะทราบเกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น  คือ
องค์ประกอบที่ 1  บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
บทสรุปสำหรับผู้บริหารนั้นเป็นส่วนที่สรุปใจความสำคัญๆ ของแผนธุรกิจทั้งหมดให้อยู่ในความยาวไม่เกิน 1-2 หน้า ส่วนนี้มีความสำคัญเพราะเป็นส่วนแรกที่ผู้ร่วมลงทุนจะอ่าน และจะต้องตัดสินใจจากส่วนนี้ว่าจะอ่านรายละเอียดในตัวแผนต่อไปหรือไม่ ดังนั้น บทสรุปผู้บริหารจึงต้องชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญคือ
1) ชี้ให้เห็นว่ามีโอกาสจริงๆ ที่จะเกิดขึ้นในตลาดสำหรับธุรกิจที่กำลังคิดจะทำ
2) ต้องชี้ให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการที่จะทำนั้น จะสามารถใช้โอกาสในตลาดที่ว่านั้นให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง
บทสรุปผู้บริหารจึงต้องเขียนให้เกิดความน่าเชื่อถือ  หนักแน่น และชวนให้ติดตามรายละเอียดที่อยู่ในแผนต่อไป  ผู้เขียนแผนพึงระลึกไว้เสมอว่าคุณภาพของบทสรุปผู้บริหารจะสะท้อนถึงคุณภาพของแผนโดยรวม  จึงควรให้เวลากับการเขียนแผนส่วนนี้อย่างพิถีพิถัน
ส่วนเนื้อหาในส่วนนี้ควรประกอบไปด้วยสิ่งต่อไปนี้
1)      อธิบายว่าจะทำธุรกิจอะไรและแนวคิดของธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร
2)      แสดงถึงโอกาสและกลยุทธ์ในการทำธุรกิจนั้น  ว่าทำไมธุรกิจนี้น่าสนใจที่จะทำ
3)      กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและการคาดคะเนลูกค้าเป้าหมาย
4)      ความได้เปรียบเชิงแข่งขันของธุรกิจ
5)      ความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจและความสามารถในการทำกำไร
6)      ทีมผู้บริหาร บอกถึงความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
7)      ข้อเสนอผลตอบแทน
องค์ประกอบที่ 2 ประวัติย่อของกิจการ
องค์ประกอบส่วนนี้เป็นการให้ข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้ง ทั้งในด้านรูปแบบการจัดตั้งหรือจดทะเบียน ตลอดจนแนวคิดและที่มาของการเล็งเห็นโอกาสทางการตลาด การคิดค้นและพัฒนาสินค้าและบริการ ที่ต้องการนำเสนอให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย นอกจากนี้ยังควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายระยะที่ต้องการให้เป็นในอนาคต
องค์ประกอบที่ 3 การวิเคราะห์สถานการณ์
ขั้นตอนแรกของการจัดทำแผนธุรกิจคือ  การพยายามทำความเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน  และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของปัจจัยสำคัญๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การแข่งขัน  ความน่าสนใจโดยรวมของอุตสาหกรรม  ตลอดจนความสามารถในการทำกำไร  และความพร้อมในด้านต่างๆ ของกิจการ  ดังนั้นการวิเคราะห์สถานการณ์จึงเป็นงานอันดับแรกที่สำคัญที่ผู้ทำธุรกิจควรกระทำ  เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดทิศทาง  กลยุทธ์  และแผนการดำเนินงานของกิจการ
ส่วนใหญ่แล้วเครื่องมือสำคัญที่ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์นี้คือ SWOT Analysis ได้แก่ การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน เพื่อมองหาจุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weaknesses) ของกิจการ   และการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก เพื่อมองหาโอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ของกิจการ
ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์สถานการณ์ คือบทวิเคราะห์ความเป็นไปและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์ในการกำหนดกลยุทธ์ด้านต่างๆ ของกิจการต่อไป
องค์ประกอบที่ 4  วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ
วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ  นั้นคือผลลัพธ์ทางธุรกิจที่กิจการต้องได้รับในช่วงระยะเวลาของแผน  ซึ่งโดยทั่วไปเป้าหมายทางธุรกิจอาจเป็นเป้าหมายโดยรวมของกิจการและเป้าหมายเฉพาะด้าน  ในแต่ละแผนกหรือลักษณะงาน  เช่น เป้าหมายทางการตลาด  เป้าหมายทางการเงิน  เป้าหมายทางการผลิต เป็นต้น  นอกจากนี้เป้าหมายทางธุรกิจอาจแบ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง  และระยะยาว  ตามระยะเวลาอีกด้วย
ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมายไม่ได้หมายถึงการมุ่งหวังเพียงผลกำไร หรือผลลัพธ์ในระยะสั้นมากจนเกินไป  โดยเฉพาะหากผลในระยะสั้นนั้นอาจจะก่อให้เกิดผลเสียได้ในระยะปานกลางและระยะยาวดังนั้นจะพบว่าลักษณะของเป้าหมายทางธุรกิจที่ดีมี 3 ประการคือ
1. มีความเป็นไปได้
2. สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
3. เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
องค์ประกอบที่ 5 แผนนำ คือ แผนการตลาด
แผนการตลาด คือ การกำหนดทิศทางและแนวทางในการทุ่มเทความพยายามทางการตลาด  ตลอดจนกลไกในการตรวจสอบและประเมินผลกิจกรรมการตลาดไว้ล่วงหน้า  โดยใช้ประโยชน์จากความเข้าใจที่ได้รับจากการวิเคราะห์สถานการณ์ในองค์ประกอบที่ 3 มาพิจารณาร่วมกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายทาธุรกิจที่กำหนดไว้ในองค์ประกอบที่ 4
โดยทั่วไปเนื้อหาของแผนการตลาดต้องตอบคำถามหลักๆ ให้กับผู้ทำธุรกิจดังต่อไปนี้
- เป้าหมายทางการตลาดที่ต้องทำให้ได้ในระยะเวลาของแผนคือเรื่องอะไรบ้าง
- ใครคือลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ทั้งกลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรอง
- จะนำเสนอสินค้าหรือบริการอะไรให้กับกลุ่มเป้าหมาย ในราคาเท่าไร และด้วยวิธีการใด
- จะสร้างและรักษาความพึงพอใจให้กับกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นได้ด้วยวิธีการใดบ้าง
- ถ้าสถานการณ์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้จะปรับตัวหรือแก้ไขอย่างไร
โดยสรุปแล้วส่วนประกอบที่สำคัญของแผนการตลาดจะประกอบด้วยเนื้อหา หลักๆ 4 ส่วน คือ
1. เป้าหมายทางการตลาด
2. การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
3. กลยุทธ์และกิจกรรมทางการตลาด  ประกอบด้วย กลยุทธ์การตลาดเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน  กลยุทธ์เพื่อการเติบโตทางการตลาด  และกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด
4. การควบคุมและประเมินผลทางการตลาด
องค์ประกอบที่ แผนเชื่อม คือ แผนการผลิต
แผนการผลิตและการปฏิบัติที่ดีจะต้องสะท้อนความสามารถของกิจการในการจัดการกระบวนการผลิตและปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  โดยมุ่งเน้นประเด็นการจัดการไปยังระบบการแปลงสภาพวัตถุดิบและทรัพยากรในการผลิตให้เป็นผลผลิตซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบได้  ตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้าวัตถุดิบ (input)  กระบวนการในการแปลงสภาพวัตถุดิบ (process)  จนถึง การนำออกผลผลิต (output) และข้อมูลย้อนกลับ (feedback)  โดยวัตถุดิบและทรัพยากรนั้นในที่นี้หมายความถึง ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้  ชั่วโมงแรงงานที่ทำการผลิต หรือค่าใช้จ่ายรวมของทรัพยากรทุกอย่างที่ใช้  สำหรับกระบวนการในการแปลงสภาพวัตถุดิบ ก็คือกระบวนการในการแปลงสภาพวัตถุดิบและทรัพยากรการผลิตให้เป็นผลผลิต  และผลผลิตในที่นี้คือจำนวนหรือมูลค่าของสินค้าและบริการที่ผลิตได้นั่นเอง
ซึ่งในการวางแผนการผลิตและปฏิบัตินั้น  ผู้ทำธุรกิจต้องพิจารณาตัดสินใจในประเด็นสำคัญๆต่างๆ ดังต่อไปนี้  โดยพยายามแสดงออกมาให้ได้รายละเอียดชัดเจนมากที่สุด ได้แก่
1. คุณภาพ
2. การออกแบบสินค้าและบริการ
3. การออกแบบกระบวนการผลิตและปฏิบัติการ
4. การตัดสินใจในเรื่องกำลังการผลิต
5. การเลือกสถานที่ตั้ง
6. การออกแบบผังของสถานประกอบการ
7. การออกแบบระบบงานและการวางแผนกำลังคน
8.  ระบบสินค้าคงคลัง
9. การจัดกระบวนการจัดสิ่งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป
10. กำหนดการผลิตและปฏิบัติการ
11.การดำรงรักษาเครื่องมือและเครื่องจักร
องค์ประกอบที่ 7  แผนสนับสนุน คือ แผนการจัดการและแผนคน
ผู้จัดทำแผนจะต้องระบุโครงสร้างขององค์การให้ชัดเจน  โดยแสดงแผนผังโครงสร้างขององค์การว่าประกอบด้วยหน่วยงานอะไรบ้าง  หน่วยงานแต่ละหน่วยมีความรับผิดชอบอะไรบ้าง  รวมถึงตำแหน่งบริหารหลักๆ ขององค์การ  โครงสร้างของคณะกรรมการและการถือหุ้น   การเขียนในส่วนนี้ควรจะทำให้ผู้อ่านเห็นว่าคณะผู้บริหารรวมตัวกันในลักษณะเป็นทีมงานที่ดีในการบริหาร  มีความสมดุลในด้านความรู้  ความสามารถที่ครบถ้วน  ทั้งด้านเทคนิคและการบริหาร  มีความชำนาญและประสบการณ์ในกิจการที่ทำ  ซึ่งแผนส่วนนี้ควรประกอบไปด้วยรายละเอียดคือ
1.โครงสร้างองค์การ
2.ตำแหน่งบริหารหลักๆ ระบุบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในแต่ละตำแหน่ง
3.ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้บริหาร
4. ผู้ร่วมลงทุน
5. คณะกรรมการบริษัท
องค์ประกอบที่ 8 แผนควบคุม คือ แผนการเงิน
ในการจัดทำแผนธุรกิจนั้น เจ้าของกิจการต้องทราบให้ได้ว่าแผนที่จัดทำขึ้น จะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนเท่าใด  จะหามาได้จากแหล่งใดบ้าง  จากแหล่งเงินทุนภายในหรือภายนอก  (Financing Activities) จากนั้นก็จะเป็นเรื่องของการตัดสินใจนำเงินไปลงทุน (Investing Activities) ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ   กิจกรรมที่สำคัญต่อไปก็คือกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities) ซึ่งประกอบไปด้วยการผลิต  การซื้อ  การขาย และการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ  ซึ่งนักบัญชีจะเป็นผู้นำเสนอผลของกิจกรรมทั้งสาม  และสรุปออกมาเป็นงบการเงิน (Financial Statements)  ซึ่งเป็นรายงานขั้นสุดท้ายที่จะแสดงให้เห็นถึงข้อมูลทางการเงินของธุรกิจ หรืออาจจะเป็นงบการเงินที่ครอบคลุมการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง  ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าในรอบระยะเวลาที่ผ่านมานั้น  ธุรกิจมีฐานะการเงินอย่างไร  กำไรหรือขาดทุน  มีการเปลี่ยนแปลงในเงินสดอย่างไรบ้าง  เพิ่มขึ้นหรือลดลง และสาเหตุเกิดจากอะไร
งบการเงินจะต้องประกอบไปด้วย  งบดุล  งบกำไรขาดทุน  งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ  งบกระแสเงินสด  และ นโยบายบัญชี  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกิจการควรเปิดเผยรายการบัญชีในเรื่องต่อไปนี้ไว้ในงบการเงิน  ได้แก่  วิธีการรับรู้รายได้  การตีราคาสินค้าคงเหลือ  การตีราคาเงินทุน  ค่าเผื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ  วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาและการตัดบัญชีสินทรัพย์ไม่มีตัวตน  การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ  และการจัดทำงบการเงินรวม
องค์ประกอบที่ 9 แผนการดำเนินงาน
แผนการดำเนินงานก็คือการจัดทำรายละเอียดของกลยุทธ์ดังกล่าว  โดยการกำหนดกิจกรรมของกลยุทธ์แต่ละด้านให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน  โดยในทางปฏิบัติผู้ประกอบการอาจจะทำแผนการดำเนินงานในลักษณะของตารางที่มีรายละเอียดของเป้าหมาย  กลยุทธ์  วิธีการ  งบประมาณ  และระยะเวลาดำเนินการ  โดยจัดทำรายละเอียดเป็นรายเดือน หรือรายสัปดาห์  ตามที่ผู้ประกอบการเห็นสมควร
องค์ประกอบที่ 10 แผนฉุกเฉิน
เป็นองค์ประกอบสุดท้ายที่ต้องมีการคิดและเขียนไว้ล่วงหน้า  เพื่อเป็นการเตรียมแนวทางการดำเนินงานในกรณีที่สถานการณ์  หรือผลลัพธ์จากการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดไว้  หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น  จนเป็นผลกระทบในทางลบกับกิจการ  ซึ่งโดยทั่วไปผู้ประกอบการควรอธิบายลักษณะความเสี่ยงทางธุรกิจที่อาจส่งผลให้การดำเนินธุรกิจไม่เป็นไปอย่างราบรื่นตามแผนที่ได้กำหนดไว้









ปกิณกะ
วิธีทําให้ผิวขาว

        
          ในหมู่คนรักสวยรักงาม เป็นที่ทราบกันแบบอวดอ้างกล่าวขานต่อๆ กันมาว่า "กลูต้าไธโอน" เป็นสารที่ทำให้ผิวขาวผ่องและเป็นที่นิยมกันมาก แม้สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยจะออกมาเตือนผู้บริโภค ว่าไม่ควรหลงเชื่อโฆษณาที่อ้างว่าสามารถช่วยให้ผิวขาวขึ้น เพราะไม่มีผลิตภัณฑ์ใดที่จะทำให้ผิวขาวขึ้นได้อย่างถาวร ผลิตภัณฑ์หรือยาอาจช่วยให้ผิวขาวได้ชั่วคราว แต่เมื่อหมดฤทธิ์ร่างกายก็ผลิตเม็ดสีตามปกติ

          อืม... แต่จะทำอย่างไรได้ล่ะคะ สาวๆ ก็ต้องมาคู่กับความสวยความงาม วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับ วิธีทําให้ผิวขาว บอกลาผิวหม่นหมองด้วยวิธีธรรมชาติๆ มาฝากเพื่อนๆ กันด้วย ว่าแล้วไปดู  12 วิธีทําให้ผิวขาว บอกลาผิวหม่นหมองกันเลย... 

           http://img.kapook.com/image/bullet2.gif 1. การขัดผิว เป็น วิธีทําให้ผิวขาว ที่ขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไปจากผิว โดยการใช้สครับที่มีขายตามท้องตลาด หรือจะเป็นสครับจากธรรมชาติง่าย ๆ แต่ได้ผล ซึ่งมีหลากหลายสูตรให้เลือก ได้แก่ มะละกอ นมสด มะขามเปียก น้ำผึ้ง โยเกิร์ต มะนาว  โดยนำอย่างใดอย่างหนึ่งมาผสมกับเกลือทะเลเพื่อให้มีเม็ดสำหรับขัดผิว เพียงเท่านี้คุณก็มีสครับขัดผิวได้ง่าย ๆ แล้ว หรือจะใช้ใยบวบในการช่วยขัดผิวก็ได้ การขัดผิวนี้จะช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าให้หลุดลอกออกไป แล้วเผยผิวใหม่ที่แน่นอนว่าต้องสว่างใสกว่าเดิม และควรทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อการปรนนิบัติและดูแลผิวอย่างต่อเนื่อง

           http://img.kapook.com/image/bullet2.gif 2. เอเอชเอ หรือกรดผลไม้ มีขายทั่วไปตามคลินิกเสริมความงามหรือร้านขายยาทั่วไป ใช้สำหรับทาบนใบหน้าสัปดาห์ละ 2 ครั้งเพื่อกระตุ้นให้เซลล์ผิวเก่าหลุดลอกออกมา เป็น วิธีทําให้ผิวขาว เผยผิวใหม่ที่ขาวผ่อง แต่การใช้เอเอชเอนี้ ต้องดูแลและระวังเรื่องการออกแดด เพราะผิวคุณจะบางลงและไวต่อแดดมากกว่าเดิม
3. น้ำนมเพื่อผิวขาว ไม่จำเป็นต้องลงไปแช่ในอ่างที่มีน้ำนมอยู่เต็มอ่าง แต่คุณสามารถทำตาม วิธีทําให้ผิวขาว ได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้น้ำนมทาบนผิวโดยตรง อาจใช้ใยบวบช่วยเพื่อขัดผิวไปด้วยเบา ๆ ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที ทำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ผิวจะค่อย ๆ ขาวขึ้น

           http://img.kapook.com/image/bullet2.gif 4. ผลไม้รสเปรี้ยว ช่วยในการขัดขี้ไคล เป็น วิธีทําให้ผิวขาว ขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ โดยใช้ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะนาว สับปะรด มะขามเปียก ส้ม เพราะมีความเป็นกรด ช่วยทำความสะอาดผิวให้ขาวใส และกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้หลุดลอกออกมาได้ แต่หากคุณเป็นคนผิวบาง ไม่ควรใช้มะนาวหรือสับปะรดที่มีความเป็นกรดสูง ควรใช้ส้มเช้งที่มีคุณสมบัติคล้าย ๆ กันก็ได้

           http://img.kapook.com/image/bullet2.gif 5. ครีมบำรุงเพื่อผิวขาว ควรใช้ครีมบำรุงที่มีไวท์เทนนิ่งเพื่อผิวขาวในตอนเย็น และทาซ้ำก่อนนอนเพื่อเสริมประสิทธิภาพของครีมบำรุงให้บำรุงอย่างต่อเนื่อง ส่วนตอนกลางวันให้ทาไวท์เทนนิ่งเพียงบาง ๆ แล้วตามด้วยครีมกันแดด หรือจะใช้ไวท์เทนนิ่งที่มีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดดก็ได้ แต่หากสาว ๆ คนไหน อยู่ติดบ้าน ไม่ได้ออกไปเผชิญแสงแดดเลย ใช้ไวท์เทนนิ่งตัวเดียว ทาวันละ 2-3 ครั้งก็เอาอยู่แล้วจ้า

           
http://img.kapook.com/image/bullet2.gif 6. ครีมกันแดด ควรเป็นสิ่งที่สาว ๆ ต้องมีติดกระเป๋าอยู่ตลอดเวลา ในกรณีที่คุณต้องเผชิญกับแสงแดดจัดโดยไม่ได้วางแผนมาก่อนจะได้หยิบขึ้นมาใช้ได้ทันการทันเวลา และอย่าลืมว่า ครีมกันแดดจำเป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากคุณเพิ่งขัดผิวหรือใช้เอเอชเอกับผิวมาหมาด ๆ เพราะผิวคุณจะไวต่อแดดมาก จึงควรทาครีมกันแดด 20 นาทีก่อนออกแดดทุกครั้ง และทาซ้ำอีกทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง

           http://img.kapook.com/image/bullet2.gif 7. ทานอาหารให้เหมาะสม โดยให้มีผักและผลไม้ในอัตราส่วนครึ่งต่อครึ่งทุกมื้อ เพราะผักผลไม้เป็นอาหารที่ย่อยง่าย ช่วยเรื่องของการขับถ่าย และยังมีแอนตี้อ็อกซิแดนซ์ที่ทำให้ผิวสวยกระชับอีกด้วย ซึ่งเมื่อร่างกายขับถ่ายตามปกติแล้ว หน้าตาผิวพรรณก็จะสดใสขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

           
http://img.kapook.com/image/bullet2.gif 8. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยขับเหงื่อไคล และสิ่งสกปรกใต้ผิวรวมถึงสารพิษออกมา ซึ่งจะทำให้ผิวดูสว่างสดใสขึ้น ยิ่งออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ก็ยิ่งทำให้ผิวสดใสอยู่ตลอดเวลา แถมการออกกำลังกายยังช่วยลดการอุดตันของสิ่งสกปรกใต้ผิว ทำให้ไม่มีสิวอีกด้วย
 9. วิตามินซีเพื่อผิวสวย วิตามินซีมีสรรพคุณช่วยให้ผิวสวยสดใส ดังนั้นจึงเป็นสารอาหารที่ร่างกายควรได้รับอยู่เสมอ ไม่ว่าจะจากการทานผักผลไม้ เช่น ส้ม ฝรั่ง มะนาว หรือหากได้รับในแต่ละวันไม่เพียงพอ ก็อาจจะทานวิตามินแบบเม็ดที่ขายในร้านขายยาก็ได้ วิธีทําให้ผิวขาว นี้จะช่วยในเรื่องผิวและมีส่วนช่วยในเรื่องการขับถ่ายไปพร้อม ๆ กัน

           http://img.kapook.com/image/bullet2.gif 10. การอบไอน้ำผิวหน้า เป็นการทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่อุดตันอยู่ในรูขุมขนอย่างลึกซึ้ง ช่วยทั้งเรื่องของผิวสะอาดสว่างใส เป็นทั้ง วิธีทําให้ผิวขาว และช่วยขจัดสิวไปพร้อม ๆ กัน โดยวิธีอบไอน้ำผิวหน้านั้นก็ทำได้ง่าย ๆ เพียงตั้งกะทะต้มน้ำจนเดือด จากนั้นน้ำกะทะมาวางบนโต๊ะแล้วยื่นหน้าให้อยู่เหนือไอน้ำ ความร้อนจะช่วยเปิดรูขุมขน และไอน้ำจะเข้าไปทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่อุดตันรูขุมขนค่ะ

           http://img.kapook.com/image/bullet2.gif 11. เมคอัพช่วยได้ ใช้ครีมรองพื้นและแป้งที่สว่างกว่าผิวจริง 1 ระดับสี และหลังจากแต่งหน้าแล้วให้นำพู่กันแตะแป้งกลิตเตอร์ประกายมุกปัดบริเวณหน้าผากและโหนกแก้ม ก็จะช่วยให้หน้าดูสว่างใสขึ้นได้เยอะเลยทีเดียว

           http://img.kapook.com/image/bullet2.gif 12. สารพัดสูตรพอกหน้า นอกจากการขัดผิวแล้ว สาว ๆ ที่อยากมีผิวขาวสุขภาพดีควรพอกหน้า รวมถึงผิวกายให้ได้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยสูตรผิวขาวที่สามารถทำเองได้จากวัตถุดิบในบ้านนั้นก็มีมากมาย ที่สำคัญยังเห็นผลชัดอีกด้วยหากทำอย่างต่อเนื่อง และสูตร วิธีทําให้ผิวขาว ที่หยิบยกมาฝากกัน มีดังนี้

           วิธีทําให้ผิวขาว : สูตรมะละกอนมสด นำมะละกอมาบดผสมกับนมสด คนให้เข้ากัน จากนั้นนำไปพอกบนใบหน้าหรือผิวกายทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออก

           วิธีทําให้ผิวขาว : โยเกิร์ตผสมมะนาว มะนาวเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีความเป็นกรดสูงมาก จนอาจทำให้แสบผิวได้ ดังนั้นการนำมะนาวมาผสมโยเกิร์ตแล้วนำไปทาผิวทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที จะช่วยลดการระคายเคืองผิว และมะนาวจะช่วยขจัดเซลล์ผิวเก่า เผยผิวใหม่ที่ใสกว่าเดิม 

           วิธีทําให้ผิวขาว : น้ำมันมะพร้าวเพื่อผิวเนียนนุ่ม เป็นสูตรโบราณที่ใช้ได้ผลมาก น้ำมันมะพร้าวจะช่วยในเรื่องการทำให้ผิวเนียนนุ่มชุ่มชื้น แม้เพียงครั้งแรกที่ได้นำน้ำมันมะพร้าวมาทาผิว รับรองได้เลยว่า สาว ๆ จะรู้สึกถึงความเนียนนุ่มได้ทันทีเลยล่ะ
วิธีทําให้ผิวขาว : น้ำผึ้งและโยเกิร์ต นำส่วนผสมดังกล่าวพอกลงบนใบหน้าหรือผิวกายประมาณ 30 นาทีก่อนล้างออก ช่วยให้ผิวขาวและนุ่มขึ้นได้ สามารถทำได้วันเว้นวันค่ะ

           วิธีทําให้ผิวขาว : กล้วยหอมและนมสด นำมาบดผสมกัน จากนั้นนำไปพอกผิวในบริเวณที่ต้องการ


จะทำให้ผิวขาวเนียนสวยได้ สามารถทำได้วันเว้นวันเช่นกัน





วิธีการดูแลรักษาสุขภาพตา - รังสี UV และการป้องกัน

รังสีอัลตราไวโอเลตกับดวงตา

            ประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อน ซึ่งมีแสงแดดแรงตลอดทั้งปี การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์มากเกินไป สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางตาได้สูงกว่า เช่น ต้อเนื้อ ต้อกระจกบางชนิด และโรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) ก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงในการมองเห็นซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษา
            เพราะฉะนั้น วิธีป้องกันโรคทางตาที่เกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลตที่ดีที่สุด คือ การใส่หมวกปีกกว้าง หรือใส่แว่นกันแดดทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน หรือเมื่อจ้องมองไปยังดวงอาทิตย์โดยตรง เช่น ขณะขับรถในเวลากลางวัน ช่วงเวลาที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษคือช่วง 10.00-14.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงที่รังสีอัลตราไวโอเลตมีความรุนแรงมากที่สุด


วีธีเลือกแว่นกันแดด

            จุดประสงค์ของการสวม แว่นกันแดด ไม่ใช่เพื่อป้องกันดวงตาจากแสงแดดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตอีกด้วย ดังนั้นเลนส์ที่ใช้ในแว่นกันแดดจึงควรสามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้ นอกจากนั้นไม่ควรใส่แว่นกันแดดสีดำ ซึ่งไม่มีเลนส์ที่สามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้ เนื่องจากเลนส์สีดำจะทำให้ม่านตาขยาย ซึ่งทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตเข้ามายังดวงตาได้มากขึ้น
            แว่นกันแดด ที่ดีควรจะมีความโค้งเข้ากับด้านข้างของใบหน้าเพื่อให้ได้รับการป้องกันสูงสุด สำหรับสีของเลนส์นั้นสามารถเลือกได้ตามความชอบของผู้สวม เลนส์สีเทาจะทำให้เห็นภาพได้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด แม้ว่าความชัดเจนจะลดลงในที่มีแสงน้อย เลนส์สีเขียวจะทำให้มองเห็นสีผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติ และเลนส์สีน้ำตาลหรือสีอำพันจะทำให้เห็นสีไม่ผิดเพี้ยนไปมากจากธรรมชาติ แต่จะทำให้มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น